ภัยเสี่ยงที่คุณต้องรู้ โรคนิ้วล็อก(Trigger Finger)ป้องกันได้ แค่เป็นพฤติกรรม
โรคนิ้วล๊อก |
เคยไหม... อยู่ดีๆ ก็ขยับนิ้วไม่ได้ จะงอก็ไม่ได้ จะยืดก็ไม่ได้ หรืออยู่ดีๆ นิ้วก็เกิดอาการกระตุกขึ้นมาซะอย่างงั้น
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันพบว่าคนเมือง โดยเฉพาะผู้ที่อยู่อาศัยในกรุงเทพมหานคร ป่วยเป็นโรคนิ้วล็อกกันมากขึ้น มาจากสังคมเมืองที่ผู้คน ส่วนใหญ่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ทั้งการใช้ทำงานหรือเล่นเกม และรวมไปถึงสุภาพสตรีที่ชอบช็อปปิ้ง แล้วถือถุงใส่ของอย่างไม่ถูกวิธีอีกด้วย
โรคนี้พบบ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และอายุที่พบบ่อยอยู่ที่ประมาณ 40 - 50 ปี โดยมากจะเกิดกับผู้ที่ใช้งานมือในลักษณะเกร็งนิ้วบ่อยๆ เช่น การทำงานบ้านต่างๆ การบิดผ้า การหิ้วของหนัก การใช้กรรไกรตัดกิ่งไม้ ตัดผ้า การยกของหนักต่างๆ เป็นต้น
โรคนิ้วล็อกเป็นอีกโรคทางกล้ามเนื้อและกระดูกที่เป็นกันได้ทุกวัย โรคนี้ไม่มีอันตรายถึงกับชีวิตแต่อย่างใด แต่เมื่อโรคนี้เกิดขึ้น มือของคุณจะไม่มีทางกลับไปเป็นเหมือนเดิมได้ 100% มันจะทั้งเจ็บปวดทั้งน่ารำคาญทำอะไรก็ไม่สะดวก แถมยังต้องระวังเป็นพิเศษจนคุณแทบอยากจะหักนิ้วทิ้ง สาเหตุของการเกิดนิ้วล็อกนี้มาจากหลายสาเหตุ อาทิ การยกของหนัก การเกร็งนิ้ว การหิ้วต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้ "ปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ" มากขึ้นมาก ๆ จนนำไปสู่ภาวะนิ้วล็อกได้
เมื่อเกิดโรคนี้แล้วก็ต้องทำใจด้วยความที่ว่ามันไม่สามารถหายขาด แต่อย่างไรก็ตาม เราสามารถทำให้อาการดีขึ้นได้ เช่น การนวดทุยหน่า (นวดแผนจีนโบราณ) กายภาพมือ หรือวิธีที่สามารถทำได้แต่ละวันอย่างการนำขนมปังชุบน้ำส้มสายชู พันตรงนิ้วที่มีอาการ ก็จะช่วยทำให้นิ้วล็อกมีอาการที่ดีขึ้นตามลำดับ
โรคนิ้วล็อกหรือ Trigger Finger นับเป็นมหันตภัยตัวใหม่ ที่สามารถสร้างความเจ็บปวด และความพิการให้กับอวัยวะมือและนิ้ว โรคนิ้วล็อก หรือที่บางคนเรียกว่า เอ็นนิ้วมือยึด หรือ นิ้วเหนี่ยวไกปืน เป็นความผิดปกติของมือที่ไม่สามารถงอหรือเหยียดได้อย่างปกติ อาจจะเป็นเพียงนิ้วเดียวหรือหลายนิ้ว โรคนี้เป็นได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่ โดยในเด็กมักเป็นมาแต่กำเนิดสาเหตุมาจากเข็มขัดรัดเส้นเอ็นไม่ยืดหยุ่น ทำให้เส้นเอ็นเคลื่อนตัวผ่านปลอกเอ็นไม่สะดวก และจะพบในคุณผู้หญิงมากกว่าคุณผู้ชาย 3-4เท่า ร้อยละ 80 มักเกิดในผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะแม่บ้าน ที่ใช้มือทำงานหนัก
เกิดจากการใช้งานของมืออย่างรุนแรง ในการบีบกำ หิ้วของหนัก ๆ ซ้ำ ๆ โดยใช้แรงกดขยำ ขยี้ ทำให้เส้นเอ็นที่มีหน้าที่รัดเส้นเอ็นติดกับกระดูก ขณะที่เรากำและแบนิ้วมือ เกิดการเสียดสี จนทำให้เส้นเอ็นบวม เกิดพังผืดหนาตัวขึ้นเป็นปม ขาดความยืดหยุ่นเป็นผลให้เส้นเอ็นเคลื่อนตัวผ่านปลอกเอ็นไม่สะดวก แม่บ้านที่ใช้มือทำงานหนัก เช่น หิ้วถุงพลาสติก หนัก ๆ หิ้วตะกร้าจ่ายกับข้าว ช้อปปิ้ง หิ้วถังน้ำ บิดผ้า กำมีดสับหมู หรือสับอาหารประเภทต่าง ๆ ผู้ชายมักจะพบในอาชีพที่ต้องใช้งานมือหนัก ๆ ซ้ำ ๆ เช่น คนทำสวนใช้กรรไกรตัดกิ่งไม้ ใช้จอบ เสียม มีด ฟันต้นไม้ ช่างที่ใช้ไขควง สว่าน หิ้ว หรือ ยกของหนักเป็นประจำ
6 อาชีพที่มีความเสี่ยง
1. พนักงานบริษัท (Employees)
โดยเฉพาะพนักงานที่ต้องทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา ต้องใช้มือและนิ้วในการคีย์ข้อมูล มีโอกาสเสี่ยวเป็นโรคนิ้วล๊อกได้สูงมาก
2. นักกอล์ฟ (Golfer)
นักกอล์ฟหลายท่านมักจะประสบกับปัญหานิ้วล็อก สาเหตุก็เพราะท่านนักกอล์ฟนั้นซ้อมอย่างหนักหน่วง การเกร็งจับไม้กอล์ฟที่แน่น การแรงสวิงมากเกินไป และการหวดวงสวิงซ้อมติดต่อกันอย่างไม่เว้นช่วง สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยแรกที่ส่งผลทำให้เกิดการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็นที่นิ้วมือ
ส่วนปัจจัยที่สองที่ส่งผลให้เกิดการอักเสบนิ้วล็อกก็คือ การเลือกไม้กอล์ฟที่หนักเกินกำลังของวงแขนและมือ โดยส่วนใหญ่ท่านนักกอล์ฟจะเลือกไม้ที่มีความหนักอย่างไม้กอล์ฟก้านเหล็กที่ความแข็งของก้านตั้งแต่ 5.5 - 6.5 ขึ้นไป เพื่อหวังระยะในการตีแต่ละครั้ง ทุกครั้งที่หวดซ้อมลูกและโดนลูกไม่เต็มใบ แรงสั่นหรือแรงช็อคของไม้จะส่งถึงมือและข้อนิ้วโดยตรงเป็นเหตุให้เกิดโรคนิ้วล็อกในระยะยาว
3. หมอนวดแผนโบราณ (Massager)
นวดแผนโบราณดูแล้วน่าจะเป็นอาชีพที่เสี่ยงน้อยที่สุด เพราะน่าจะมีความเข้าใจในเรื่องของเส้นเอ็นและกระดูกมากกว่าคนทั่ว ๆ ไป แต่หมองูตายเพราะงูมามากนักต่อนักแล้วครับ นวดแผนโบราณเป็นอาชีพที่ใช้นิ้วมืออย่างหนักหน่วงมาก โดยเฉพาะนิ้วหัวแม่โป้ง ข้อนิ้วมือแรกและหลังข้อนิ้วที่สอง เพราะต้องทำการกดบีบ ตัดเส้นให้กับลูกค้าผู้เส้นตึงทั้งหลาย โดยเฉพาะการนวดเท้าซึ่งผู้ที่มีเท้าแข็งและหนาจะสร้างความลำบากให้นิ้วมือของหมอนวดเป็นอย่างมาก แม้ว่าจะมีไม้นวดเท้าออกมาช่วย แต่อาชีพนวดแผนโบราณนั้น ก็ยังคงเสี่ยงนิ้วล็อกอยู่ดี เพราะไม่ใช่แค่ส่วนเท้าอย่างเดียวที่ต้องนวด แต่หมายถึงทั้งร่างกายตั้งแต่หัวจรดเท้าที่มือต้องทำหน้าที่บีบนวดคลายเส้น
4. ช่าง (Craftsman, Mechanic)
อาชีพช่างทั้งหลายค่ะ ช่างนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องใช้มืออย่างหนัก เพราะในทุก ๆ วันต้องอยู่กับเครื่องมือเครื่องไม้ที่ใช้แรง โดยเฉพาะงานอย่างช่างฝีมือหรือช่างเครื่องที่วัน ๆ ต้องอยู่กับไขควง ประแจ สิ่ว กบไสไม้ ขวาน หรือค้อนต่าง ๆ งานใดที่ยิ่งประณีต นั่นหมายถึงเวลาและเรี่ยวแรงที่ต้องเสียไป ช่างฝีมือ อาทิ ช่างไม้ไทยที่ทำหน้าที่สร้างบ้านเรือนไทยอย่างเรือนเครื่องสับ จะต้องอยู่กับเลื่อย สิ่ว ค้อน ทั้งวัน เพื่อที่จะทำหน้าที่ขึ้นรูปไม้ที่จะใช้ประกอบไม้ในแต่ละชิ้นส่วนงานออกมาให้ประณีตที่สุด ซึ่งนั่นก็หมายถึงความเสียหายที่มือจะต้องได้รับนั่นเอง
5. นักยูโด (Judo, Jujitsu)
อาชีพนักยูโดเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่ต้องฝึกฝนกำลังข้อมือกำลังแขน และกำลังนิ้วเป็นอย่างมาก เพื่อที่จะได้มีความแข็งแรงมากพอที่จะจับคู่ต่อสู้ทุ่มลง ฟาดนอนไปกับพื้น ซึ่งนักยูโคต้องใช้มือกำตรงชายเสื้อชุดยูโด (กิ) แล้วฉุดกระชากดึงในท่วงท่าที่หลากหลายรูปแบบเพื่อให้คู่ต่อสู้เสียหลัก ซึ่งบางครั้งคู่ต่อสู้บิดตัวทำให้ชายเสื้อม้วนรัดที่กำปั้นและข้อมือ ก็นำมาซึ่งอาการบาดเจ็บได้
กีฬายูโดเป็นกีฬาที่ต้องใช้กำลังนิ้วติดต่อกับเป็นเวลานานไม่ว่าจะเป็นในเวลาแข่งหรือในเวลาซ้อม อีกทั้งนักยูโดจะฝึกกำลังนิ้ว ด้วยการนำเอายางในจักรยานมาผูกเข้ากับเสา แล้วดึงขึ้นลงอยู่ตลอดทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคนิ้วล็อคได้มากกว่าอาชีพอื่น ๆ
6. แม่บ้าน (Housewife)
อันดับสุดท้าย เป็นเรื่องที่ไม่น่าคาดคิดครับว่าเป็นอาชีพที่ใกล้ตัวเรามากที่สุด นั่นก็คือ แม่บ้านนั่นเอง งานหลักของแม่บ้านนั้นก็คือทำงานในบ้าน ไม่ว่าจะทำกับข้าว จ่ายตลาด ทำความสะอาดบ้าน แต่ในทุกรายละเอียดของการทำงานนั้นเต็มไปด้วยสภาวะที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคนิ้วล็อกทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นหิวตะกร้าหรือหิ้วถุงเดินตลาด ทำกับข้าวที่ต้องใช้แรงผัด แรงกวน หรือการซักผ้า บิดผ้าความเสี่ยงที่จะเกิดนิ้วล็อกล้วนเกิดขึ้นตลอดเวลาในการทำงาน ที่สำคัญอาชีพแม่บ้านนั้นไม่มีวันหยุด ปัจจุบันแม่บ้านเป็นจำนวนมากจึงต้องเจอกับโรคนิ้วล็อกอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก
• สาเหตุ
เกิดจากการใช้งานของมืออย่างรุนแรง ในการบีบกำ หิ้วของหนัก ๆ ซ้ำ ๆ โดยใช้แรงกดขยำ ขยี้ ทำให้เส้นเอ็นที่มีหน้าที่รัดเส้นเอ็นติดกับกระดูก ขณะที่เรากำและแบนิ้วมือ เกิดการเสียดสี จนทำให้เส้นเอ็นบวม เกิดพังผืดหนาตัวขึ้นเป็นปม ขาดความยืดหยุ่นเป็นผลให้เส้นเอ็นเคลื่อนตัวผ่านปลอกเอ็นไม่สะดวก แม่บ้านที่ใช้มือทำงานหนัก เช่น หิ้วถุงพลาสติก หนัก ๆ หิ้วตะกร้าจ่ายกับข้าว ช้อปปิ้ง หิ้วถังน้ำ บิดผ้า กำมีดสับหมู หรือสับอาหารประเภทต่าง ๆ ผู้ชายมักจะพบในอาชีพที่ต้องใช้งานมือหนัก ๆ ซ้ำ ๆ เช่น คนทำสวนใช้กรรไกรตัดกิ่งไม้ ใช้จอบ เสียม มีด ฟันต้นไม้ ช่างที่ใช้ไขควง สว่าน หิ้ว หรือ ยกของหนักเป็นประจำ
• อาการ
เจ็บบริเวณฐานนิ้ว นิ้วฝืดมีอาการปวดนิ้วคล้าย นิ้วถูกบิดทำให้ปวด-ชา อยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะในเวลากลางคืน หรือตื่นนอนตอนเช้า ขยับนิ้วมือจะรู้สึกเจ็บ การงอ และการเหยียดนิ้วด้านฝ่ามือฝืด สะดุด งอนิ้วไม่เข้า กำมือ หรือเหยียดมือไม่สะดวก นิ้วแข็ง นิ้วอาจบวมชา โก่งงอ นิ้วเกยกัน มือไม่มีกำลัง หากไม่ได้รับการรักษา นิ้วข้างเคียงก็จะยึดติดแข็ง ใช้งานไม่ได้เปรียบเสมือนมือพิการ แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ
1. ระยะแรก มีอาการปวดเป็นอาการหลัก โดยจะมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ และจะมีอาการปวดมากขึ้น ถ้าเอานิ้วกดบริเวณฐานนิ้วมือด้านหน้า แต่ยังไม่มีอาการติดสะดุด
2. ระยะที่สอง มีอาการสะดุด (triggering) เป็นอาการหลัก และอาการปวดก็มักจะเพิ่มมากขึ้นด้วย เวลาขยับนิ้ว งอ และเหยียดนิ้ว จะมีการสะดุดจนรู้สึกได้
3. ระยะที่สาม มีอาการติดล็อคเป็นอาการหลัก โดยเมื่องอนิ้วลงไปแล้ว จะติดล็อกจนไม่สามารถเหยียดนิ้วออกเองได้ ต้องเอามืออีกข้างมาช่วยแกะ หรืออาจมีอาการมากขึ้นจนไม่สามารถงอนิ้วลงได้เอง
4. ระยะที่สี่ มีการอักเสบบวมมาก จนนิ้วบวมติดอยู่ในท่างอเล็กน้อย ไม่สามารถเหยียดให้ตรงได้ ถ้าใช้มือมาช่วยเหยียดจะปวดมาก
ถ้าเป็นในระยะเริ่มแรก เช่น ระยะที่ 1 และ 2 สามารถรักษาด้วยการรับประทานยาแก้ปวดตามอาการ และที่สำคัญคือ ต้องหยุดพักการใช้งานของมือ สามารถลดอาการปวดโดยแช่มือลงในน้ำอุ่นวันละ 2-3 ครั้ง ร่วมกับทำกายภาพด้วยการเหยียดนิ้วออกเบาๆ
• การดูแลตนเอง
หากมีอาการเจ็บตรงโคนนิ้วมือ เวลางอนิ้วมือแล้ว เหยียดนิ้วมีเสียงดังกิ๊ก หรือเวลางอนิ้วมือแล้วเหยียดขึ้น เองไม่ได้ ควรจะไปพบแพทย์เพื่อให้การตรวจวินิจฉัยให้แน่ชัด เมื่อพบว่าเป็นโรคนิ้วล็อก ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาจากแพทย์อย่างจริงจัง และควรปฏิบัติดังนี้
- ไม่ขยับนิ้วหรือดีดนิ้วที่เป็นนิ้วล็อกเล่น อาจทำให้เส้นเอ็นอักเสบมากขึ้นได้
- ถ้ามีอาการข้อฝืด กำไม่ถนัดตอนเช้า ควรแช่น้ำอุ่นจัดๆ และบริหารโดยการขยับมือกำแบเบาๆ ในน้ำ จะทำให้นิ้วมือเคลื่อนไหวได้คล่องขึ้น
- เมื่อต้องกำหรือจับสิ่งของแน่นๆ เช่น ไม้กอล์ฟ ตะหลิวผัดกับข้าว ควรใช้ผ้าหรือฟองน้ำพันรอบๆ หรือใช้ถุงมือจับจะช่วยลดแรงกดหรือเสียดสีลง
• วิธีการรักษา
การรักษาขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของโรค การรักษาในระยะแรกคือ การพักการใช้งานของมือ ไม่ใช้งานรุนแรง การรับประทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ แช่น้ำอุ่น การทำกายภาพบำบัด ซึ่งมักจะได้ผลในระยะปานกลาง
• การป้องกัน
โรคนิ้วล็อกเป็นโรคที่เกิดขึ้นจากการใช้งานของมือเพราะนิ้วมือต้องสัมพันธ์โดยตรงกับอาชีพ และกิจกรรมต่างๆ เพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการใช้นิ้วและมืออย่ารุนแรง การป้องกันโรคนิ้วล็อกที่ดีที่สุด คือ ต้องระมัดระวังการใช้งานของนิ้วมืออย่างถูกสุขลักษณะ ก็จะช่วยป้องกันการบาดเจ็บของปลอกหุ้มเอ็น และโรคนิ้วล็อกได้ เช่น ผู้ที่ต้องตัดหญ้า ควรใส่ถุงมือเพื่อป้องกัน หรือ ผู้ที่ไปจับจ่ายใช้สอย ควรเลือกใช้รถเข็นสินค้าแทนตะกร้า หรือการถือถุงจำนวนมาก เป็นต้น
1. ไม่หิ้วของหนัก เช่น ถุงพลาสติก ตะกร้า ถังน้ำ ถ้าจำเป็นต้องหิ้ว ควรใช้ผ้าขนหนูรองและหิ้วให้น้ำหนักตกที่ฝ่ามือ แทนที่จะให้น้ำหนักตกที่ข้อนิ้วมือ หรือใช้วิธีการอุ้มประคองช่วยลดการรับน้ำหนักที่นิ้วมือได้
2. ไม่ควรบิดหรือซักผ้าด้วยมือเปล่าจำนวนมากๆ และไม่ควรบิดผ้าให้แห้งสนิท เพราะจะยึดปลอกหุ้มเอ็นจนคราก และเป็นจุดเริ่มต้นของโรคนิ้วล็อก
3. นักกอล์ฟที่ต้องตีแรง ตีไกล ควรใส่ถุงมือ หรือใช้ผ้าสักหลาดหุ้มด้ามจับให้หนาและนุ่มขึ้น เพื่อลดแรงปะทะ และไม่ควรไดร์กอล์ฟต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ
4. เวลาทำงานที่ต้องอาศัยอุปกรณ์ช่าง ควรระวังการกำหรือบดเครื่องมือทุ่นแรง เช่น ไขควง เลื่อย ค้อน ฯลฯ ควรใส่ถุงมือหรือห่อหุ้มด้ามจับให้ใหญ่และนุ่มขึ้น
5. ชาวสวนควรระวังเรื่องการตัดกิ่งไม้ด้วยกรรไกร หรืออื่นๆ ที่ใช้แรงมือควรใส่ถุงมือเพื่อลดการบาดเจ็บของปลอกเอ็นกับเส้นเอ็น และควรใช้สายยางรดน้ำต้นไม้แทนการหิ้วถังน้ำ
6. คนที่ยกของหนักๆ เป็นประจำ เช่นคนส่งน้ำขวด ถังแก๊ส แม่ครัวพ่อครัว ควรหลีกเลี่ยงการยกมือเปล่า ควรมีผ้านุ่มๆ มารองจับขณะยก และใช้เครื่องทุ่นแรง เช่น รถเข็น รถลาก
7. หากจำเป็นต้องทำงานที่ต้องใช้มือกำ หยิบ บีบ เครื่องมือเป็นเวลานานๆ ควรใช้เครื่องทุ่นแรง เช่น ใช้ผ้าห่อที่จับให้หนานุ่ม เช่น ใช้ผ้าห่อด้ามจับตะหลิวในอาชีพแม่ครัวพ่อครัว
8. งานบางอย่างต้องใช้เวลาทำงานนานต่อเนื่อง ทำให้มือเมื่อยล้าหรือระบม ควรพักมือเป็นระยะๆ เช่นทำ 45 นาที ควรจะพักมือสัก 10 นาที
***โรคนิ้วล็อกไม่ใช่โรคที่อันตราย แต่ถ้าเป็นโรคนี้ขึ้นมาแล้วย่อมก่อให้เกิดความรำคาญ และความเจ็บปวดให้กับผู้ที่เป็นไม่มากก็น้อย ดังนั้น การป้องกันไม่ให้เกิดโรคตามคำแนะนำข้างต้นจึงเป็นการดีที่สุดค่ะ
***โรคนี้พบได้บ่อย โดยเฉพาะในผู้ที่ทำงานที่ต้องหยิบจับสิ่งของหรืออุปกรณ์อย่างต่อเนื่องนานๆ หรือใช้มือหิ้วของหนักๆ
ข้อมูลจาก
https://th.wikipedia.org/wiki/
https://hilight.kapook.com
http://health.haijai.com
https://www.doctor.or.th/article/detail/
http://www.thaihealth.or.th
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น