ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

โรคระบบกระดูกกล้ามเนื้อ


ติดต่อคลิ๊กที่นี้ ศูนย์ดูแลโรคเข่าเสื่อม เก๊าส์ กระดูกทับเส้นประสาท

โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ



⇉โรคกระดูกพรุน 

          เป็นภาวะที่ร่างกายขาดสารสำคัญชนิดหนึ่งที่เรียกว่า"แคลเซียม"ในกระดูกลดลง ร่วมกับความเสื่อมของเนื้อเยื่อที่ประกอบกันเป็นโครงสร้างภายในกระดูก มวลกระดูกหนาแน่นลอลงและเปราะบางแตกหักง่าย บริเวณที่พบการแตกหักของกระดูกได้แก่ ข้อมือ แขน ขา และสันหลัง

          โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ดี เช่น การรับประทานอาหารที่ให้แคลเซียมสูง(ปลาเล็ก ปลาน้อย กุ้งแห้ง) ออกกำลังกายเป็นประจำหรืออย่างน้อยสัปดาร์ละ2-3ครั้ง ออกมารับแสงแดดอ่อนๆในตอนเช้าเป็นประจำ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ทานสุราจัด เป็นต้น

ปรึกษาปัญหากระดูกและข้อคลิ๊กที่นี้ 

m.me/bonehealthcare


  • สาเหตุ 

          กระดูกประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อคอลลเจน โปรตีน และแคลเซียม โดยมีแคลเซียมฟอตเฟสเป็นตัวทำให้กระดูกแข็งแรง ทนต่อแรงดึงรั้ง

          กระดูกมีการสลายตัวอยู่ตลอดเวลา กล่าวคือในขณะมีการสร้างกระดูกก็มีการสลายแคลเซียมในเนื้อกระดูกออกมาในเลือดและถูกขับออกทางปัสสาวะและอุจจาระ
         ปกติเด็กจะมีการสร้างกระดูกมากกว่าการสลายกระดูก ทำให้กระดูกมีการเจริญเติบโต และมีความหนาแน่นสูงสุด 
          อายุประมาณ30-40ปี เริ่มจะมีการสลายกระดูกมากกว่าการสร้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงช่วงหลังวัยหมดประจำเดือน ฮอร์โมนเอสโตเจนในร่างกายจะลดลงอย่างรวดเร็วซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้จะเป็นตัวช่วยในการดูดซึมแคลเซียมได้เป็นอย่างดี เมื่อฮอร์โมนพร่องก็ขะทำให้กระดูกบางตัว จนเกิดภาวะกระดูกพรุน

  • อาการ

          ส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการ จนกระทั้งเกิดภาวะกระดูกแตกหัก ก็จะเกิดอาการเจ็บปวด หรือความผิดปกติของโครงสร้างกระดูก เช่น ปวดข้อมือ สะโพก หรือหลัง

  • การดูแลตนเอง

          1.กลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ หญิงวัยหมดประจำเดือน ผู้ที่ใช้ยาสเตรียรอยด์เป็นเวลานาน ควรรับประทานอาหารประเภทที่มีแคลเซียมสูงๆเป็นหลัก เช่นปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแห้ง นมถั่วเหลือง น้ำส้ม เมล็ดงา คะน้า บล็อคโคลี่ ข้าวโอ๊ต ถั่วขาว ปลาซาดีน ถั่งแระ อัลมอนด์ เต้าหู้ ปลาแซลมอนด์กระป๋อง อาหารเสริมที่มีส่วนผสมของแคลเซียม กลูโคซามีน คอลลาเจน และคอนดรอยติน 
          2.ผู้ที่ตรวจกรองพบภาวะโรคกระดูกพรุน ต้องระมัดระวังอย่าให้หกล้มหรือเกิดอุบัติเหตุทำให้กระดูกหัก เช่น แก้ไขภาวะความดัน หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ทำให้ง่วงนอนหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง

  • การป้องกัน

          1.รับประทานแคลเซียมให้เพียงพอต่อวัน อาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแห้ง นมถั่วเหลือง น้ำส้ม เมล็ดงา คะน้า บล็อคโคลี่ ข้าวโอ๊ต ถั่วขาว ปลาซาดีน ถั่งแระ อัลมอนด์ เต้าหู้ ปลาแซลมอนด์กระป๋อง อาหารเสริมที่มีส่วนผสมของแคลเซียม กลูโคซามีน คอลลาเจน และคอนดรอยติน 
          2.ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น การเดิน วิ่ง เต้นแอโลบิก กระโดดเชือก รำมวยจีน เป็นต้น
          3.รับแสงแดด เพราะแสงแดดจะช่วยให้ร่างกายสังเคราะห์วิตามินดี ซึ่งเป็นฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างกระดูก
          4.รักษาน้ำหนักตัวอย่าให้ต่ำกว่าเกญฑ์มาตราฐาน เพราะคนผอมจะมีมวลกระดูกน้อย เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนได้ง่าย
          5.หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุน เช่น
- ไม่รับประทานอาหารประเภทโปรตีนหรือเนื้อสัตว์มากเกินไป
- ไม่กินอาหารเค็มจัดหรืออาหารที่มีเกลือโซเดี่นมสูง
- ไม่ดื่มน้ำอัดลมในปริมาณมาก
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ ช๊อกโกแลต
- งดการสูบบุหรี่
          6.รักษาโรคที่ทำให้เกิดภาวะเป็นโรคกระดูกพรุน เช่น ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน โรคคุชชิง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โรคเกี่ยวกับกระดูกและข้อ

โครงสร้างของกระดูกมนุษย์ โครงกระดูกมนุษย์   ประกอบไปด้วย กระดูก ชิ้นต่างๆในร่างกาย ซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยโครงสร้างของ ข้อต่อ   เอ็น   กล้ามเนื้อ   กระดูกอ่อน   และ อวัยวะ ต่างๆ กระดูกในมนุษย์ผู้ใหญ่มีประมาณ 206 ชิ้น และคิดเป็นประมาณ 20 เปอร์เซนต์ของน้ำหนักร่างกาย อย่างไรก็ดี จำนวนของกระดูกอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ทารกแรกเกิดจะมีกระดูกจำนวนประมาณ 300 ชิ้น ซึ่งต่อมากระดูกบางชิ้นจะมีการเชื่อมรวมกันระหว่างการเจริญเติบโต เช่นส่วนกระเบนเหน็บและส่วนก้นกบของ กระดูกสันหลัง   นอกจากนี้ในทารกแรกเกิดยังมีโครงสร้างของกระดูกอ่อนอยู่มาก เพื่อให้มีการสร้างโครงสร้างของกระดูกระหว่างการเจริญเติบโต และจะมีการพัฒนาไปเป็นกระดูกทั้งหมดเมื่อสิ้นสุดช่วง วัยรุ่น กระดูกจะติดต่อกับกระดูกอีกชิ้น และประกอบเข้าด้วยกันเป็นโครงกระดูกด้วยเอ็นและกล้ามเนื้อเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นใน กระดูกโคนลิ้น   (Hyoid bone) ซึ่งเป็นกระดูกที่ไม่ติดต่อกับกระดูกชิ้นอื่นๆโดยตรง แต่จะยึดไว้ในบริเวณส่วนบนของ คอหอย ด้วยเอ็นและกล้ามเนื้อใกล้เคียง กระดูกชิ้นที่ใหญ่ที่สุดในมนุษย์คือ กระดูกต้นขา   (Femur) ในขณะที่กระดูกชิ้นเล็กที่ส

อาการปวด ที่เป็นง่ายแต่หายยาก

เริ่มต้นดูแลตัวเองเสียแต่วันนี้ ก่อนที่จะสายเกินไป อาการที่เป็นง่าย แต่หายยาก ปัจจัยเสี่ยงอาการปวดร้าวสะโพกลงขา 1.  หมอนรองกระดูกเคลื่อน และ หมอนรองกระดูกแตกทับเส้นประสาท  เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของอาการปวด สะโพกร้าวลงขา ซึ่งมีอาการปวดที่รุนแรงมาก 2. กระดูกสันหลังที่มีเส้นประสาทไขสันหลังตีบ หรือแคบลง พบมากในผู้สูงอายุ เนื่องจากในขณะที่เรามีอายุเพิ่ม มากขึ้น  กระดูกจะมีการเสื่อมสภาพตามวัย ทำให้กระดูกตีบ และแคบ สร้างแรงกดดันต่อเส้นประสาท  เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด อาการปวดสะโพกร้าวลงขา โดยเฉพาะเมื่อนั่งนานๆ นั่งหลังค่อมหลังงอ จะทำให้แรงกด ต่อเส้นประสาทเพิ่มขึ้นมา 3.  กระดูกสันหลังเคลื่อน  (Spondylolisthesis) กระดูกสันหลังชิ้นใดชิ้นหนึ่งมีการเคลื่อนไปข้างหน้า หรือข้างหลัง มากกว่ากระดูกสันหลังชิ้นอื่นๆ ทำให้เกิดความดันในเส้นประสาท 4.   เส้นประสาทมีการยึด หรือรั้ง 5. กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (Piriformis syndrome) หรือ กลุ่มอาการ กล้ามเนื้อสะโพกอักเสบเรื้อรัง ทำให้เส้นประสาทติดอยู่ลึงลงไปในสะโพก ทำให้เกิดอาการปวด 6.  สาเหตุอื่นๆ เช่น  ข้อเข่าเสื่อม  กระดูกหักที่เกิ