ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

อาการปวด ที่เป็นง่ายแต่หายยาก

เริ่มต้นดูแลตัวเองเสียแต่วันนี้ ก่อนที่จะสายเกินไป

m.me/bonehealthcare

อาการที่เป็นง่าย แต่หายยาก


ปัจจัยเสี่ยงอาการปวดร้าวสะโพกลงขา


1. หมอนรองกระดูกเคลื่อน และหมอนรองกระดูกแตกทับเส้นประสาท เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของอาการปวดสะโพกร้าวลงขา ซึ่งมีอาการปวดที่รุนแรงมาก
2. กระดูกสันหลังที่มีเส้นประสาทไขสันหลังตีบ หรือแคบลง พบมากในผู้สูงอายุ เนื่องจากในขณะที่เรามีอายุเพิ่มมากขึ้น กระดูกจะมีการเสื่อมสภาพตามวัย ทำให้กระดูกตีบ และแคบ สร้างแรงกดดันต่อเส้นประสาท เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดสะโพกร้าวลงขา โดยเฉพาะเมื่อนั่งนานๆ นั่งหลังค่อมหลังงอ จะทำให้แรงกดต่อเส้นประสาทเพิ่มขึ้นมา
3. กระดูกสันหลังเคลื่อน (Spondylolisthesis) กระดูกสันหลังชิ้นใดชิ้นหนึ่งมีการเคลื่อนไปข้างหน้า หรือข้างหลังมากกว่ากระดูกสันหลังชิ้นอื่นๆ ทำให้เกิดความดันในเส้นประสาท
4.  เส้นประสาทมีการยึด หรือรั้ง
5. กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (Piriformis syndrome) หรือ กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกอักเสบเรื้อรังทำให้เส้นประสาทติดอยู่ลึงลงไปในสะโพก ทำให้เกิดอาการปวด
6.  สาเหตุอื่นๆ เช่น ข้อเข่าเสื่อม กระดูกหักที่เกิดจากโรคกระดูกพรุน มักพบในผู้สูงอายุ
7.  มีอาการปวดสะโพกร้าวลงขาในระหว่างตั้งครรภ์
8.  ส่วนสาเหตุที่ทำให้ปวดสะโพกร้าวลงขาที่พบไม่บ่อยนัก เช่น เนื้องอก ลิ่มเลือด หรือฝีไปกดทับเส้นประสาท
9. อายุที่มากขึ้น ทำให้กระดูกสันหลังมีความเสื่อมถอยของความแข็งแรงลง เช่น กระดูกพรุน
10. โรคที่เกี่ยวกับกระดูกสันหลัง เช่น โรคข้ออักเสบ หมอนรองกระดูกเสื่อม เป็นต้น
11. โรคอ้วน เพราะน้ำหนักที่มากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีพุงจะเพิ่มความเครียดให้กระดูกสันหลังมากขึ้น
12. พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การนั่งในท่าเดิมเป็นเวลานานเป็นประจำ โดยเฉพาะการนั่งหลังงอ เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอาการปวดสะโพกร้าวลงขาและปัญหาอื่นๆ ตามมา

ข้อเข่าอักเสบ

ลดอาการข้ออักเสบโดยไม่ต้องพึ่งยาแก้ปวด

- จิบชาขิง ลดอาการคลายปวดข้อ มีฤทธิ์ช่วยบรรเทาอาการปวด คล้ายกับยาแก้อาการอักเสบ

- กินคลีน ซึ่งประกอบไปด้วยผักสด ผลไม้สด ธัญพืช น้ำมันมะกอก ถั่ว กระเทียม หัวหอมและสมุนไพร

- จิบชาคาโมมายล์ ช่วยลดอาการอักเสบและติดเชื้อ

- กินอาหารที่มีวิตามินซี เพื่อช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด และบรรเทาอาการปวด

- กินกรดไขมัน Omega3 ช่วยลดอาการอักเสบข้อกระดูก อาจมองหารับประจากอาหารเสริมที่มีส่วนผสมของปลาทะเลน้ำลึก

- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีผลต่อการสร้างแอนติบอดี้ เช่น นมวัว ไขไก่ ปลาคอด เนื้อหมู ข้าวโพด ข้าวสาลี ส้ม ข้าวโอ๊ด ข้าวไรย์ เนื้อวัว และกาแฟ เพราะอาหารเหล่านี้จะไปกระตุ้นให้ร่างกายผลิตกรดไขมันออกมามากเกินไป ทำให้อาการปาดข้อกำเริบขึ้นได้

- บำรุงร่างกายด้วยCalcium ปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน คนทั่วไปประมาณวันละ 1,000 มิลลิกรัม ผู้หญิงในช่วงวัยหมดประจำเดือน ควรรับประทานแคลเซียมวันละ 1,500 มิลกรัม รับประทานปลาตัวเล็กตัวน้อยทอดกรอบ กุ้งแห้ง กุ้งฝอย กะปิ เต้าหู้เหลือง กะหล่ำดอก หรือรับประทานอาหารเสริมเม็ดแคลเซียม

- ประคบร้อน ประคบเย็น เมื่อมีอาการปวดข้อกระดูก มีโรคประจำตัวอื่นๆร่วมด้วยไหม เช่นความดัน(ให้ระวังประคบเย็น เพราะจะทำให้หน้ามืด เวียนศรีษะ) มะเร็ง(หลีกเลี่ยงประคบร้อน) เบาหวาน(ประคบเย็นหรือร้อนนานเกินไม่ดี เพราะมีผลต่อความรู้สึกของผู้ป่วย)

- สังเกตุอาการว่าเป็นแบบฉับพลันหรือเรื้อรัง

- ฟังเพลงเพื่อคลายอาการปวด

****รับประทานอาหารเสริมทีาช่วยในการบำรุงดูแลข้อและกระดูก อย่างเช่น D-BOONE





ปวดคอ สาเหตุของโรคกระดูกคอเสื่อม

การปฏิบัติตัวเพื่อไม่ให้กระดูกคอเสื่อมเร็วเกินไป

    กระดูกคอก็เหมื่อนอวัยวะส่วนอื่นของร่างกาย จะต้องมีการเสื่อมตัวไปตามอายุ แต่มีข้อแนะนำเพื่อชะลอการเสื่อมตัวของกระดูกคอหรือไม่ให้เสื่อมตัวเร็วเกินไป ได้แก่


1. หลีกเลี่ยงการบิดหมุนคอหรือสะบัดคอบ่อยๆ


2. การนั่งทำงาน นั่งอ่านหนังสือหรือนั่งเขียนหนังสือควรให้คออยู่ในลักษณะตรงปกติอย่าก้มคอมากเกินไป


3. การนอนควรใช้หมอนหนุนศีรษะโดยมีส่วนรองรับใต้คอให้กระดูกคออยู่ในลักษณะปกติ


4. บริหารกล้ามเนื้อคอให้แข็งแรงสม่ำเสมอ


5. หลีกเลี่ยงการทำงานโดยแหงนคอเป็นเวลานานๆบ่อยๆ


6. หลีกเลี่ยงการรักษาโดยวิธีการดัดคอหรือบิดหมุนคอ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โรคเกี่ยวกับกระดูกและข้อ

โครงสร้างของกระดูกมนุษย์ โครงกระดูกมนุษย์   ประกอบไปด้วย กระดูก ชิ้นต่างๆในร่างกาย ซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยโครงสร้างของ ข้อต่อ   เอ็น   กล้ามเนื้อ   กระดูกอ่อน   และ อวัยวะ ต่างๆ กระดูกในมนุษย์ผู้ใหญ่มีประมาณ 206 ชิ้น และคิดเป็นประมาณ 20 เปอร์เซนต์ของน้ำหนักร่างกาย อย่างไรก็ดี จำนวนของกระดูกอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ทารกแรกเกิดจะมีกระดูกจำนวนประมาณ 300 ชิ้น ซึ่งต่อมากระดูกบางชิ้นจะมีการเชื่อมรวมกันระหว่างการเจริญเติบโต เช่นส่วนกระเบนเหน็บและส่วนก้นกบของ กระดูกสันหลัง   นอกจากนี้ในทารกแรกเกิดยังมีโครงสร้างของกระดูกอ่อนอยู่มาก เพื่อให้มีการสร้างโครงสร้างของกระดูกระหว่างการเจริญเติบโต และจะมีการพัฒนาไปเป็นกระดูกทั้งหมดเมื่อสิ้นสุดช่วง วัยรุ่น กระดูกจะติดต่อกับกระดูกอีกชิ้น และประกอบเข้าด้วยกันเป็นโครงกระดูกด้วยเอ็นและกล้ามเนื้อเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นใน กระดูกโคนลิ้น   (Hyoid bone) ซึ่งเป็นกระดูกที่ไม่ติดต่อกับกระดูกชิ้นอื่นๆโดยตรง แต่จะยึดไว้ในบริเวณส่วนบนของ คอหอย ด้วยเอ็นและกล้ามเนื้อใกล้เคียง กระดูกชิ้นที่ใหญ่ที่สุดในมนุษย์คือ กระดูกต้นขา   (Femur) ในขณะที่กระดูกชิ้นเล็กที่ส

โรคระบบกระดูกกล้ามเนื้อ

ติดต่อคลิ๊กที่นี้  ศูนย์ดูแลโรคเข่าเสื่อม เก๊าส์ กระดูกทับเส้นประสาท โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ⇉โรคกระดูกพรุน             เป็นภาวะที่ร่างกายขาดสารสำคัญชนิดหนึ่งที่เรียกว่า"แคลเซียม"ในกระดูกลดลง ร่วมกับความเสื่อมของเนื้อเยื่อที่ประกอบกันเป็นโครงสร้างภายในกระดูก มวลกระดูกหนาแน่นลอลงและเปราะบางแตกหักง่าย บริเวณที่พบการแตกหักของกระดูกได้แก่ ข้อมือ แขน ขา และสันหลัง           โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ดี เช่น การรับประทานอาหารที่ให้แคลเซียมสูง(ปลาเล็ก ปลาน้อย กุ้งแห้ง) ออกกำลังกายเป็นประจำหรืออย่างน้อยสัปดาร์ละ2-3ครั้ง ออกมารับแสงแดดอ่อนๆในตอนเช้าเป็นประจำ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ทานสุราจัด เป็นต้น ⇨ ปรึกษาปัญหากระดูกและข้อคลิ๊กที่นี้  m.me/bonehealthcare สาเหตุ            กระดูกประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อคอลลเจน โปรตีน และแคลเซียม โดยมีแคล เซียมฟอตเฟสเป็นตัวทำให้กระดูกแข็งแรง ทนต่อแรงดึงรั้ง           กระดูกมีการสลายตัวอยู่ตลอดเวลา กล่าวคือในขณะมีการสร้างกระดูกก็มีการสลายแคลเซียมในเนื้อกระดูกออกมาในเลือดและถูกขับออกทางปัส