ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

โรคข้อเสื่อม


          โรคข้อเสื่อม หมายถึงโรคของข้อที่เกิดกับกระดูกอ่อน (cartilage) และเยื่อหุ้มข้อ ทำให้มีการสร้างเนื้อเยื่อจำนวนมาก โดยมากจะเกิดบริเวณข้อนิ้ว ข้อมือ ข้อกระดูกต้นคอ ข้อกระดูกหลัง

          ปกติข้อของคน จะมีกระดูกอ่อนหุ้มอยู่ปลายกระดูก ทำให้การเคลื่อนไหวของข้อราบรื่น กระดูกอ่อนสามารถรับแรงกระแทกจากกระดูก ผู้ที่เกิดกระดูกเสื่อม จะมีกระดูกอ่อนที่หุ้มข้อสึกและบางลง ทำให้เกิดการเสียดสีของกระดูก เมื่อเวลาเคลื่อนไหว จะเกิดอาการ ปวด บวม แดง ร้อน เมื่อเวลาผ่านไป จะมีการงอกของหินปูนเข้าไปในข้อ และมีเศษกระดูกลอยในข้อ ทำให้เกิดอาการปวดข้อ และเคลื่อนไหวลำบาก
          โรคข้อเสื่อมจะพบมากในผู้สูงอายุในช่วง 50-60 ปี และพบว่าเพศหญิงมีโอกาสเกิดโรคนี้มากกว่าเพศชายถึง 2 เท่า รวมถึงการแสดงอาการมักพบมีอาการที่รุนแรงกว่า อาการที่เป็นลักษณะเด่นของโรคนี้ คือ อาการข้อฝืดในตอนเช้า ปวดตามข้อ การเคลื่อนไหวของข้อไม่เต็มที่ และมักมีเสียงดังกรอบแกรบภายในข้อขณะเคลื่อนไหว


ศูนย์ดูแลโรคเข่าเสื่อม เก็าส์ กระดูกทับเส้นประสาท


      
จะทราบได้อย่างไรว่าท่านเป็นข้อเสื่อม

          เนื่องจากโรคนี้จะมีอาการค่อยเป็นโดยที่ผู้ที่ป่วยไม่ทราบ ข้อที่เสื่อมสามารถเป็นได้ทุกข้อ อาการจะเริ่มต้นด้วยอาการปวดโดยมากมักจะปวดตอนเช้า ออกกำลังกายแล้วหาย หากเป็นมากขึ้นการออกกำลังกายจะทำให้ปวดมากขึ้น ข้อขยับได้น้อยลง เวลาขยับข้อจะเกิดเสี่ยงกระดูกเสียดสีกัน หลังจากนั้นข้อจะโตขึ้น เนื่องจากมีการสะสมของกระดูกอ่อน เอ็น และเนื้อเยื่อเพิ่มขึ้น กล้ามเนื้อรอบข้ออ่อนแรง เวลาเดินจะทำให้ปวดมากขึ้น
          ข้อที่เป็นบ่อยได้แก่ ข้อนิ้ว ข้อเข่า ข้อไหล่ ข้อสะโพก ข้อกระดูกหลัง จากรูปจะพบว่าข้อนิ้วผิดรูป และข้อบวม อาการตามข้อต่างๆ
  • ข้อมือโดยเฉพาะข้อนิ้วเป็นข้อปลายนิ้วทำให้เกิดตุ่มที่เรียกว่าHeberden nodes มักจะมีประวัติในครอบครัวเป็นมากในผู้หญิง ข้อนิ้วที่เป็นจะใหญ
  • ข้อเข่า
  • ข้อสะโพก
  • กระดูกสันหลัง

📲ยินดีให้คำปรึกษา(ฟรี) 086-366-0842 

ศูนย์ดูแลโรคเข่าเสื่อม เก๊าส์ 

กระดูกทับเส้นประสาท



ชนิดข้อเสื่อม
1. ข้อเสื่อมปฐมภูมิ (primary osteoarthritis) หมายถึง โรคข้อเสื่อมที่เกิดขึ้นเองโดยไม่เกี่ยวข้องกับสาเหตุอื่นๆ มักพบในผู้สูงอายุ และมักพบเป็นข้อเสื่อมบริเวณเฉพาะแห่งที่มีลักษณะข้อใหญ่ เช่น ข้อเข่า ข้อสะโพก และข้อกระดูกสันหลัง หรืออาจพบในบริเวณที่อาจเกิดขึ้นพร้อมกันมากกว่า 2 แห่ง ขึ้นไป เช่น บริเวณข้อนิ้วมือส่วนต้น และส่วนปลาย เป็นต้น
2. ข้อเสื่อมทุติยภูมิ (secondary osteoarthritis) หมายถึง โรคข้อเสื่อมที่เกิดขึ้นโดยมีสาเหตุมาจากปัจจัยอื่นๆเหนี่ยวนำให้เกิดขึ้น เช่น การเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้เกิดการหักของผิวกระดูกข้อ มีภาวะข้อหลุด เกิดการทำลายไขกระดูกข้อ เกิดการตายของหัวกระดูก และการติดเชื้อภายในข้อ รวมไปถึงความผิดปกติของข้อตั้งแต่กำเนิด การเกิดข้ออักเสบต่างๆ และการเกิดโรคในระบบต่อมไร่ท่อ เป็นต้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้สามารถเหนี่ยวนำให้เกิดโรคกระดูกเสื่อมตามมาได้
โรคข้อเสื่อม นอกจากจะมีสาเหตุมาจากการเสื่อมสภาพของผิวกระดูกอ่อนตามวัยแล้วยังมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง และส่งเสริมให้มีการเสื่อมสภาพที่เร็วขึ้นกว่าปกติหรือมีอาการที่รุนแรงขึ้น ได้แก่
1. อายุ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคข้อเสื่อม โรคนี้มักพบในผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 85 จากผู้ป่วยทั้งหมด พบว่า อายุมีความสัมพันธ์เป็นอย่างมากกับการเปลี่ยนแปลงเซลล์กระดูกอ่อน ผู้ที่มีอายุมากมักพบอัตราการสร้าง และซ่อมแซมเซลล์น้อยกว่าอัตราการสลาย และการเสื่อมของเซลล์ เป็นผลทำให้เกิดโรคข้อเสื่อมตามมา
2. เชื้อชาติ พบว่า ชนชาติที่มักเป็นโรคอ้วนหรือมีร่างกายใหญ่โต น้ำหนักมากมีผลต่อการเสื่อมของผิวหุ้มกระดูกที่เร็วกว่าคนผอม นอกจากนั้น
3. อาชีพ พบว่า อาชีพที่ยกของหนักหรือใช้งานอวัยวะบริเวณข้อต่างๆมีโอกาสสูงที่เกิดจะเกิดภาวะข้อเสื่อที่เร็วขึ้น
4. กรรมพันธุ์ โดยยีนของเพศหญิงที่มีผลต่อการเสื่อมของข้อกระดูกทำให้เพศหญิงมีโอกาสเกิดโรคข้อเสื่อมมากกว่าเพศชาย
5. น้ำหนักร่างกาย ผู้ที่มีอายุมากขึ้นมักพบมีน้ำหนักมากขึ้น โดยเฉพาะเพศหญิงเมื่อหมดวัยประจำเดือน น้ำหนักที่มากขึ้นจะมีผลต่อการกดทับ และเพิ่มแรงกดบริเวณกระดูกอ่อนหุ้มข้อต่างๆทำให้เกิดการเสื่อมของข้อได้เร็ว
6. ความหนาแน่นของกระดูก พบว่าความหนาแน่นของกระดูกที่น้อยมีความสัมพันธ์กับโรคข้อเสื่อมที่ทำให้เกิดแรงเครียดที่ผิวกระดูกอ่อนหุ้มข้อ
7. ฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งฮอร์โมนนี้มีส่วนช่วยป้องกันการเสื่อของผิวกระดูกอ่อน หากฮอร์โมนมีปริมาณลดลงหรือมีน้อยจะทำให้เพิ่มอัตราการเสื่อมของผิวกระดูกอ่อนที่เร็วขึ้น
8. พฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยเฉพาะพฤติกรรมที่มีการเคลื่อนไหวของข้อกระดูกที่มาก รวมถึงพฤติกรรมการหักนิ้ว หักข้อเวลาปวดหรือเพื่อทำให้เกิดเสียงดังมีส่วนทำให้เร่งการเสื่อมของผิวกระดูกอ่อนหุ้มข้อที่เร็วขึ้น
9. การประสบอุบัติเหตุ โดยเฉพาะการประสบอุบัติเหตุบริเวณข้อ เช่น ข้อเข่าหลุด ข้อมือหัก เป็นต้น เป็นสาเหตุทำให้ผิวหุ้มกระดูกอ่อนถูกทำลายอย่างรุนแรงมีผลทำให้เกิดการเสื่อมที่ข้อที่เร็วขึ้น

รับคำปรึกษา พร้อมเงื่อนไขพิเศษได้ที่นี้


อาการของโรค

1. อาการเจ็บปวด ในระยะแรกของการเสื่อมของข้อผู้ป่วยจะรู้สึกปวดเล็กน้อย และอาการจะรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามวัย โดยเฉพาะเวลาที่มีการเคลื่อนไหวของข้อเป็นเวลานาน อาการปวดนี้จะบรรเทาลงเมื่อหยุดการเคลื่อนไหว ลักษณะจะเป็นๆหายๆ นอกจากนี้ อาการปวดมักมีส่วนมาจากการดื่มแอลกอฮอล์ร่วมด้วย
2. อาการข้อติด และตึงที่ข้อ อาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้นมีผลต่อการเคลื่อนไหวที่น้อยลง ร่วมกับความหนาของกระดูก และการผิดรูปของข้อจนทำให้เกิดอาการข้อติดแข็ง อาการนี้จะพบมากหลังจากการตื่นนอนเนื่องจากไม่มีการเคลื่อนไหวของข้อเป็นเวลานาน ทั้งนี้ อาการข้อติดแข็งจะเกิดในเวลาสั้นๆ ประมาณน้อยกว่า 1 ชั่วโมง เรียกภาวะนี้ว่า ปรากฏการณ์ติดแข็ง (Gelling หรือ Gel phenomenon)
3. อาการเสียงดังของข้อ (Crepitation) เซลล์กระดูกที่งอกขึ้นมาใหม่ที่มีลักษณะไม่เรียบ มีผิวขรุขระ เมื่อเคลื่อนไหวจะทำให้เกิดการเสียดสีของผิวกระดูกเหล่านี้ ซึ่งมักจะได้ยินเสียงเมื่อมีการเคลื่อนไหวดังกรอบแกรบ และรู้สึกว่าข้อมีการเสียดสีกัน
4. อาการบวมที่ข้อ (Joint edema) ในระยะแรกจะไม่พบอาการบวมที่รุนแรง อาการบวมมักเกิดหลังจากการทำงานหนักหรือการรับน้ำหนักมากบริเวณข้อ และจะทุเลาลงเมื่อข้อไม่ได้รับภาระ อาการบวมนี้จะเกิดจากการหนาตัวของเซลล์กระดูกอ่อนที่ข้อที่เกิดขึ้นมาใหม่ และลุกลามเชื่อมติดกับเอ็นรอบๆข้อ รวมถึงการอักเสบของข้อร่วมด้วย
5. ภาวะน้ำท่วมข้อ (Joint effusion) ที่เกิดจากการเสื่อมของกระดูกในระยะเวลานานจนทำให้เซลล์กระดูกแตกตกค้างในช่องว่างระหว่างข้อจนทำให้เกิดการอักเสบของข้อตามมาพร้อมกับมีการสร้างน้ำไขข้อในปริมาณที่มากขึ้นจนทำให้มีอาการบวมอักเสบบริเวณข้อตามมา
6. อาการผิดรูปของข้อ (defromity) เป็นอาการที่เกิดในระยะสุดท้ายของโรค การผิดรูปของข้อนี้จะเกิดจากความหนาแน่น และการขยายตัวของกระดูกใต้กระดูกอ่อน ร่วมกับการดึงรั้ง และการหดตัวของเยื่อหุ้มข้อ ทำให้เกิดความผิดปกติของข้อตามมา เช่น ข้อขยายใหญ่ เป็นต้น


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โรคเกี่ยวกับกระดูกและข้อ

โครงสร้างของกระดูกมนุษย์ โครงกระดูกมนุษย์   ประกอบไปด้วย กระดูก ชิ้นต่างๆในร่างกาย ซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยโครงสร้างของ ข้อต่อ   เอ็น   กล้ามเนื้อ   กระดูกอ่อน   และ อวัยวะ ต่างๆ กระดูกในมนุษย์ผู้ใหญ่มีประมาณ 206 ชิ้น และคิดเป็นประมาณ 20 เปอร์เซนต์ของน้ำหนักร่างกาย อย่างไรก็ดี จำนวนของกระดูกอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ทารกแรกเกิดจะมีกระดูกจำนวนประมาณ 300 ชิ้น ซึ่งต่อมากระดูกบางชิ้นจะมีการเชื่อมรวมกันระหว่างการเจริญเติบโต เช่นส่วนกระเบนเหน็บและส่วนก้นกบของ กระดูกสันหลัง   นอกจากนี้ในทารกแรกเกิดยังมีโครงสร้างของกระดูกอ่อนอยู่มาก เพื่อให้มีการสร้างโครงสร้างของกระดูกระหว่างการเจริญเติบโต และจะมีการพัฒนาไปเป็นกระดูกทั้งหมดเมื่อสิ้นสุดช่วง วัยรุ่น กระดูกจะติดต่อกับกระดูกอีกชิ้น และประกอบเข้าด้วยกันเป็นโครงกระดูกด้วยเอ็นและกล้ามเนื้อเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นใน กระดูกโคนลิ้น   (Hyoid bone) ซึ่งเป็นกระดูกที่ไม่ติดต่อกับกระดูกชิ้นอื่นๆโดยตรง แต่จะยึดไว้ในบริเวณส่วนบนของ คอหอย ด้วยเอ็นและกล้ามเนื้อใกล้เคียง กระดูกชิ้นที่ใหญ่ที่สุดในมนุษย์คือ กระดูกต้นขา   (Femur) ในขณะที่กระดูกชิ้นเล็กที่ส

โรคระบบกระดูกกล้ามเนื้อ

ติดต่อคลิ๊กที่นี้  ศูนย์ดูแลโรคเข่าเสื่อม เก๊าส์ กระดูกทับเส้นประสาท โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ⇉โรคกระดูกพรุน             เป็นภาวะที่ร่างกายขาดสารสำคัญชนิดหนึ่งที่เรียกว่า"แคลเซียม"ในกระดูกลดลง ร่วมกับความเสื่อมของเนื้อเยื่อที่ประกอบกันเป็นโครงสร้างภายในกระดูก มวลกระดูกหนาแน่นลอลงและเปราะบางแตกหักง่าย บริเวณที่พบการแตกหักของกระดูกได้แก่ ข้อมือ แขน ขา และสันหลัง           โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ดี เช่น การรับประทานอาหารที่ให้แคลเซียมสูง(ปลาเล็ก ปลาน้อย กุ้งแห้ง) ออกกำลังกายเป็นประจำหรืออย่างน้อยสัปดาร์ละ2-3ครั้ง ออกมารับแสงแดดอ่อนๆในตอนเช้าเป็นประจำ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ทานสุราจัด เป็นต้น ⇨ ปรึกษาปัญหากระดูกและข้อคลิ๊กที่นี้  m.me/bonehealthcare สาเหตุ            กระดูกประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อคอลลเจน โปรตีน และแคลเซียม โดยมีแคล เซียมฟอตเฟสเป็นตัวทำให้กระดูกแข็งแรง ทนต่อแรงดึงรั้ง           กระดูกมีการสลายตัวอยู่ตลอดเวลา กล่าวคือในขณะมีการสร้างกระดูกก็มีการสลายแคลเซียมในเนื้อกระดูกออกมาในเลือดและถูกขับออกทางปัส

อาการปวด ที่เป็นง่ายแต่หายยาก

เริ่มต้นดูแลตัวเองเสียแต่วันนี้ ก่อนที่จะสายเกินไป อาการที่เป็นง่าย แต่หายยาก ปัจจัยเสี่ยงอาการปวดร้าวสะโพกลงขา 1.  หมอนรองกระดูกเคลื่อน และ หมอนรองกระดูกแตกทับเส้นประสาท  เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของอาการปวด สะโพกร้าวลงขา ซึ่งมีอาการปวดที่รุนแรงมาก 2. กระดูกสันหลังที่มีเส้นประสาทไขสันหลังตีบ หรือแคบลง พบมากในผู้สูงอายุ เนื่องจากในขณะที่เรามีอายุเพิ่ม มากขึ้น  กระดูกจะมีการเสื่อมสภาพตามวัย ทำให้กระดูกตีบ และแคบ สร้างแรงกดดันต่อเส้นประสาท  เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด อาการปวดสะโพกร้าวลงขา โดยเฉพาะเมื่อนั่งนานๆ นั่งหลังค่อมหลังงอ จะทำให้แรงกด ต่อเส้นประสาทเพิ่มขึ้นมา 3.  กระดูกสันหลังเคลื่อน  (Spondylolisthesis) กระดูกสันหลังชิ้นใดชิ้นหนึ่งมีการเคลื่อนไปข้างหน้า หรือข้างหลัง มากกว่ากระดูกสันหลังชิ้นอื่นๆ ทำให้เกิดความดันในเส้นประสาท 4.   เส้นประสาทมีการยึด หรือรั้ง 5. กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (Piriformis syndrome) หรือ กลุ่มอาการ กล้ามเนื้อสะโพกอักเสบเรื้อรัง ทำให้เส้นประสาทติดอยู่ลึงลงไปในสะโพก ทำให้เกิดอาการปวด 6.  สาเหตุอื่นๆ เช่น  ข้อเข่าเสื่อม  กระดูกหักที่เกิ