ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

5 สัญญาณอาการปวด แก้ไขได้

m.me/bonehealthcare

5 สัญญาณอาการปวดที่ต้องรีบรักษาด่วน คลิ๊กลิงค์ที่นี้รับข้อมูล

5 สัญญาณอาการปวด 

          1. อาการปวดหลังร่วมกับแขนขาชาไม่มีแรง

          กลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้ ซึ่งลักษณะอาการดังกล่าวเป็นไปได้ว่าไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ ทางที่ดีควรรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน เพื่อทำการเอกซเรย์ตรวจดูกระดูกสันหลังและหาตำแหน่งที่บาดเจ็บ บางรายเพียงให้นอนพักรักษาตัวก็อาจหายจากอาการดังกล่าวได้ แต่บางรายอาจจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด

           2. ปวดหลังบริเวณเอวและมีไข้หนาวสั่น

          สาเหตุของอาการอาจเกิดจากการติดเชื้ออักเสบของไต หรืออาจเป็นโรคกรวยไตอักเสบ โดยสาเหตุเหล่านี้เกิดได้จากการทานน้ำในแต่ละวันน้อยเกินไป การอั้นปัสสาวะ

          โดยการรักษาแพทย์จะใช้ให้ยาฆ่าเชื้อและยาอื่น ๆ ตามแต่การวินิจฉัยโรค รวมถึงแนะให้ทานน้ำมาก ๆ เปลี่ยนพฤติกรรมการอั้นปัสสาวะ และเมื่อรักษาไตจนเป็นปกติดีแล้ว อาการปวดดังกล่าวก็จะหายไป

           3. ปวดเหนือบั้นเอวทั้งสองข้าง 

          หากมีอาการปวดเหนือบั้นเอวทั้งสองข้าง และเมื่อพบแพทย์แล้ว แพทย์อาจคลำพบก้อนบริเวณไต รวมถึงมีเลือดปนในปัสสาวะ มีความดันโลหิตสูง และมีภาวะโลหิตจางร่วมด้วย ในกรณีนี้เป็นสัญญาณบอกโรคถุงน้ำในไต ซึ่งโรคนี้เป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ 

          เมื่อมีถุงน้ำในไต ก็จะทำให้ไตทำงานได้น้อยลง เมื่อไตทำงานได้ลดลงส่งผลเสียต่อร่างกายเกิดโรคความดันโลหิตสูง ไตอาจติดเชื้อได้ง่ายและไตวายเรื้อรังจน ถึงไตหยุดทำงานถาวร และนอกจากปัญหาที่ไตแล้วยังทำให้เกิดถุงน้ำที่อื่นได้ด้วยเช่น ตับ ตับอ่อน รังไข่ อัณฑะ และเกิดหลอดเลือดสมองโป่งพองได้ด้วย

           4. อาการปวดหลังที่เกิดในสตรีมีครรภ์

          อาจเป็นผลมาจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น ฮอร์โมนในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงทำให้เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อยึดกระดูกหย่อนยาน การแบกรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของทารก หรือมดลูกที่โตขึ้น กดทับเส้นประสาททำให้ปวดหลังจนร้าวไปถึงขาได้

           5. ปวดหลังเรื้อรังนานเป็นแรมเดือนและปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ 

          หากเป็นในคนอ้วน หรือผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปี อาจเกิดขึ้นเนื่องจากโรคไขข้ออักเสบ หรือกระดูกสันหลังสึกกร่อน การรักษาในกรณีนี้แพทย์จะให้ยาแก้ปวดมาทาน ให้รับการทำกายภาพบำบัด สวมเสื้อดามหลัง แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมเพิ่มขึ้น ถ้าเป็นคนอ้วนมากก็จะต้องให้ลดน้ำหนัก






กลุ่มที่เสี่ยงต่อหมอนรองกระดูกเสื่อม

พฤติกรรมเสี่ยง หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
1. ก้มๆ เงยๆ บ่อยๆ หรือมากเกินไป
2. ยกของหนักซ้ำๆ ท่าเดิมๆ
3. ผู้ที่มีอาชีพที่ต้องทำงานอยู่ในบริเวณที่มีการสั่นสะเทือนบ่อยๆ เช่น เขตก่อสร้าง
4. ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก
5. อยู่ท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานานเกินไป โดยไม่มีการปรับเปลี่ยนอิริยาบถ เช่น ผู้ที่ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นานเกินไป

        ไม่อยากนิ้วล็อค ต้องปฏิบัติอย่างไร

         1.ไม่หิ้วของหนัก เช่น ถุงพลาสติก ตะกร้า ถังน้ำ โดยเฉพาะบรรดาแม่บ้านทั้งหลาย ถ้าจำเป็นต้องหิ้ว ควรใช้ผ้าขนหนูรองและหิ้วให้น้ำหนักตกที่ฝ่ามือ แทนที่จะให้น้ำหนักตกที่ข้อนิ้วมือ หรือใช้วิธีการอุ้มประคองช่วยลดการรับน้ำหนักที่นิ้วมือได้
         2.ไม่ควรบิดหรือซักผ้าด้วยมือเปล่าจำนวนมากๆ และไม่ควรบิดผ้าให้แห้งสนิท เพราะจะยึดปลอกหุ้มเอ็นจนคราก และเป็นจุดเริ่มต้นของโรคนิ้วล็อค
         3.ระวังการกำหรือบดเครื่องมือทุ่นแรง เวลาทำงานที่ต้องอาศัยอุปกรณ์ช่าง เช่น ไขควง เลื่อย ค้อน ฯลฯ ควรใส่ถุงมือหรือห่อหุ้มด้ามจับให้ใหญ่และนุ่มขึ้น
         4.ชาวสวนควรระวังเรื่องการตัดกิ่งไม้ด้วยกรรไกร หรืออื่นๆที่ใช้แรงมือควรใส่ถุงมือเพื่อลดการบาดเจ็บของปลอกเอ็นกับเส้นเอ็น และควรใช้สายยางรดน้ำต้นไม้แทนการหิ้วถังน้ำ
         5.คนที่ยกของหนักๆเป็นประจำ เช่นคนส่งน้ำขวด ถังแก๊ส แม่ครัวพ่อครัว ควรหลีกเลี่ยงการยกมือเปล่า ควรมีผ้านุ่มๆ มารองจับขณะยก และใช้เครื่องทุ่นแรง เช่น รถเข็น รถลาก
         6.ควรใช้เครื่องทุ่นแรง หากจำเป็นต้องทำงานที่ต้องใช้มือกำ หยิบ บีบ เครื่องมือเป็นเวลานานๆ เช่น ใช้ผ้าห่อที่จับให้หนานุ่ม เช่น ใช้ผ้าห่อด้ามจับตะหลิวในอาชีพแม่ครัวพ่อครัว
         7.รู้จักพักมือบ้าง หากทำงานบางอย่างต้องใช้เวลานานต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้มือเมื่อยล้าหรือระบม ควรพักมือเป็นระยะๆ เช่น ทำ 45 นาที และพักมือสัก 10 นาที เป็นต้น



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โรคเกี่ยวกับกระดูกและข้อ

โครงสร้างของกระดูกมนุษย์ โครงกระดูกมนุษย์   ประกอบไปด้วย กระดูก ชิ้นต่างๆในร่างกาย ซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยโครงสร้างของ ข้อต่อ   เอ็น   กล้ามเนื้อ   กระดูกอ่อน   และ อวัยวะ ต่างๆ กระดูกในมนุษย์ผู้ใหญ่มีประมาณ 206 ชิ้น และคิดเป็นประมาณ 20 เปอร์เซนต์ของน้ำหนักร่างกาย อย่างไรก็ดี จำนวนของกระดูกอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ทารกแรกเกิดจะมีกระดูกจำนวนประมาณ 300 ชิ้น ซึ่งต่อมากระดูกบางชิ้นจะมีการเชื่อมรวมกันระหว่างการเจริญเติบโต เช่นส่วนกระเบนเหน็บและส่วนก้นกบของ กระดูกสันหลัง   นอกจากนี้ในทารกแรกเกิดยังมีโครงสร้างของกระดูกอ่อนอยู่มาก เพื่อให้มีการสร้างโครงสร้างของกระดูกระหว่างการเจริญเติบโต และจะมีการพัฒนาไปเป็นกระดูกทั้งหมดเมื่อสิ้นสุดช่วง วัยรุ่น กระดูกจะติดต่อกับกระดูกอีกชิ้น และประกอบเข้าด้วยกันเป็นโครงกระดูกด้วยเอ็นและกล้ามเนื้อเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นใน กระดูกโคนลิ้น   (Hyoid bone) ซึ่งเป็นกระดูกที่ไม่ติดต่อกับกระดูกชิ้นอื่นๆโดยตรง แต่จะยึดไว้ในบริเวณส่วนบนของ คอหอย ด้วยเอ็นและกล้ามเนื้อใกล้เคียง กระดูกชิ้นที่ใหญ่ที่สุดในมนุษย์คือ กระดูกต้นขา   (Femur) ในขณะที่กระดูกชิ้นเล็กที่ส

โรคระบบกระดูกกล้ามเนื้อ

ติดต่อคลิ๊กที่นี้  ศูนย์ดูแลโรคเข่าเสื่อม เก๊าส์ กระดูกทับเส้นประสาท โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ⇉โรคกระดูกพรุน             เป็นภาวะที่ร่างกายขาดสารสำคัญชนิดหนึ่งที่เรียกว่า"แคลเซียม"ในกระดูกลดลง ร่วมกับความเสื่อมของเนื้อเยื่อที่ประกอบกันเป็นโครงสร้างภายในกระดูก มวลกระดูกหนาแน่นลอลงและเปราะบางแตกหักง่าย บริเวณที่พบการแตกหักของกระดูกได้แก่ ข้อมือ แขน ขา และสันหลัง           โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ดี เช่น การรับประทานอาหารที่ให้แคลเซียมสูง(ปลาเล็ก ปลาน้อย กุ้งแห้ง) ออกกำลังกายเป็นประจำหรืออย่างน้อยสัปดาร์ละ2-3ครั้ง ออกมารับแสงแดดอ่อนๆในตอนเช้าเป็นประจำ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ทานสุราจัด เป็นต้น ⇨ ปรึกษาปัญหากระดูกและข้อคลิ๊กที่นี้  m.me/bonehealthcare สาเหตุ            กระดูกประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อคอลลเจน โปรตีน และแคลเซียม โดยมีแคล เซียมฟอตเฟสเป็นตัวทำให้กระดูกแข็งแรง ทนต่อแรงดึงรั้ง           กระดูกมีการสลายตัวอยู่ตลอดเวลา กล่าวคือในขณะมีการสร้างกระดูกก็มีการสลายแคลเซียมในเนื้อกระดูกออกมาในเลือดและถูกขับออกทางปัส

อาการปวด ที่เป็นง่ายแต่หายยาก

เริ่มต้นดูแลตัวเองเสียแต่วันนี้ ก่อนที่จะสายเกินไป อาการที่เป็นง่าย แต่หายยาก ปัจจัยเสี่ยงอาการปวดร้าวสะโพกลงขา 1.  หมอนรองกระดูกเคลื่อน และ หมอนรองกระดูกแตกทับเส้นประสาท  เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของอาการปวด สะโพกร้าวลงขา ซึ่งมีอาการปวดที่รุนแรงมาก 2. กระดูกสันหลังที่มีเส้นประสาทไขสันหลังตีบ หรือแคบลง พบมากในผู้สูงอายุ เนื่องจากในขณะที่เรามีอายุเพิ่ม มากขึ้น  กระดูกจะมีการเสื่อมสภาพตามวัย ทำให้กระดูกตีบ และแคบ สร้างแรงกดดันต่อเส้นประสาท  เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด อาการปวดสะโพกร้าวลงขา โดยเฉพาะเมื่อนั่งนานๆ นั่งหลังค่อมหลังงอ จะทำให้แรงกด ต่อเส้นประสาทเพิ่มขึ้นมา 3.  กระดูกสันหลังเคลื่อน  (Spondylolisthesis) กระดูกสันหลังชิ้นใดชิ้นหนึ่งมีการเคลื่อนไปข้างหน้า หรือข้างหลัง มากกว่ากระดูกสันหลังชิ้นอื่นๆ ทำให้เกิดความดันในเส้นประสาท 4.   เส้นประสาทมีการยึด หรือรั้ง 5. กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (Piriformis syndrome) หรือ กลุ่มอาการ กล้ามเนื้อสะโพกอักเสบเรื้อรัง ทำให้เส้นประสาทติดอยู่ลึงลงไปในสะโพก ทำให้เกิดอาการปวด 6.  สาเหตุอื่นๆ เช่น  ข้อเข่าเสื่อม  กระดูกหักที่เกิ