ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2017

โรคนิ้วล๊อก

    ภัยเสี่ยงที่คุณต้องรู้ โรคนิ้วล็อก(Trigger Finger)ป้องกันได้ แค่เป็นพฤติกรรม โรคนิ้วล๊อก เคยไหม... อยู่ดีๆ ก็ขยับนิ้วไม่ได้ จะงอก็ไม่ได้ จะยืดก็ไม่ได้ หรืออยู่ดีๆ นิ้วก็เกิดอาการกระตุกขึ้นมาซะอย่างงั้น…           อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันพบว่าคนเมือง โดยเฉพาะผู้ที่อยู่อาศัยในกรุงเทพมหานคร ป่วยเป็นโรคนิ้วล็อกกันมากขึ้น มาจากสังคมเมืองที่ผู้คน ส่วนใหญ่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ทั้งการใช้ทำงานหรือเล่นเกม และรวมไปถึงสุภาพสตรีที่ชอบช็อปปิ้ง แล้วถือถุงใส่ของอย่างไม่ถูกวิธีอีกด้วย โรคนี้พบบ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และอายุที่พบบ่อยอยู่ที่ประมาณ 40 - 50 ปี   โรคนี้พบบ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และอายุที่พบบ่อยอยู่ที่ประมาณ 40 - 50 ปี โดยมากจะเกิดกับผู้ที่ใช้งานมือในลักษณะเกร็งนิ้วบ่อยๆ เช่น การทำงานบ้านต่างๆ การบิดผ้า การหิ้วของหนัก การใช้กรรไกรตัดกิ่งไม้ ตัดผ้า การยกของหนักต่างๆ เป็นต้น           โรคนิ้วล็อกเป็นอีกโรคทางกล้ามเนื้อและกระดูกที่เป็นกันได้ทุกวัย โรคนี้ไม่มีอันตรายถึงกับชีวิตแต่อย่างใด แต่เมื่อโรคนี้เกิดขึ้น มือของคุณจะไม่มีทางกลับไปเป็นเ

การรักษาหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทก่อนการตัดสินใจผ่าตัด

อาการของหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท สัญญาณเตือนอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ที่มักเป็นกันบ่อยคืออาการกระดูกสันหลังทับเส้นบริเวณคอ และอาการกระดูกทับเส้นบริเวณหลังส่วนล่าง ทำความรู้จักโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทกัน โรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท คือการที่หมอนรองกระดูกของเราปลิ้น โป่งออกมาจากแนวกระดูกสันหลังจนไปเบียดทับกับเส้นประสาทรอบๆแนวกระดูกสันหลัง หรือเยื่อหุ้มหมอนรองกระดูกสันหลังอาจฉีกขาดจนทำให้ของเหลวลักษณะคล้ายเจลที่อยู่ภายในไปกดทับเส้นประสาทโดยรอบแนวกระดูกสันหลังนั่นเอง  หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม ( กระดูกทับเส้น ) มีสาเหตุเกิดมาจาก 3 ประการที่สำคัญก็คือ  การสึกกร่อนตามอายุการใช้งาน   เช่นการนั่งเป็นเวลายาวนานไม่เปลี่ยนท่า  การที่ต้องขับรถเป็นระยะทางไกลๆเป็นประจำ การยกของหนัก  พฤติกรรมเสี่ยง ·          อาการกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทระดับหลัง สาเหตุของอาการเกิดจากการที่ หมอนรองกระดูกปลิ้นหรือแตกจนของเหลวภายในไปเบียดทับเส้นประสาทบริเวณหลังส่วนล่างหรือบริเวณกระดูกสันหลังชิ้นที่ L3 L4 L5 S1 ซึ่งส่งผลต่อระบบ

โรคเกี่ยวกับกระดูกและข้อ

โครงสร้างของกระดูกมนุษย์ โครงกระดูกมนุษย์   ประกอบไปด้วย กระดูก ชิ้นต่างๆในร่างกาย ซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยโครงสร้างของ ข้อต่อ   เอ็น   กล้ามเนื้อ   กระดูกอ่อน   และ อวัยวะ ต่างๆ กระดูกในมนุษย์ผู้ใหญ่มีประมาณ 206 ชิ้น และคิดเป็นประมาณ 20 เปอร์เซนต์ของน้ำหนักร่างกาย อย่างไรก็ดี จำนวนของกระดูกอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ทารกแรกเกิดจะมีกระดูกจำนวนประมาณ 300 ชิ้น ซึ่งต่อมากระดูกบางชิ้นจะมีการเชื่อมรวมกันระหว่างการเจริญเติบโต เช่นส่วนกระเบนเหน็บและส่วนก้นกบของ กระดูกสันหลัง   นอกจากนี้ในทารกแรกเกิดยังมีโครงสร้างของกระดูกอ่อนอยู่มาก เพื่อให้มีการสร้างโครงสร้างของกระดูกระหว่างการเจริญเติบโต และจะมีการพัฒนาไปเป็นกระดูกทั้งหมดเมื่อสิ้นสุดช่วง วัยรุ่น กระดูกจะติดต่อกับกระดูกอีกชิ้น และประกอบเข้าด้วยกันเป็นโครงกระดูกด้วยเอ็นและกล้ามเนื้อเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นใน กระดูกโคนลิ้น   (Hyoid bone) ซึ่งเป็นกระดูกที่ไม่ติดต่อกับกระดูกชิ้นอื่นๆโดยตรง แต่จะยึดไว้ในบริเวณส่วนบนของ คอหอย ด้วยเอ็นและกล้ามเนื้อใกล้เคียง กระดูกชิ้นที่ใหญ่ที่สุดในมนุษย์คือ กระดูกต้นขา   (Femur) ในขณะที่กระดูกชิ้นเล็กที่ส