โรคเกาต์ (หรือที่รู้จักกันในนาม โพดากรา เมื่อเกิดกับนิ้วหัวแม่เท้า) เป็นภาวะความเจ็บป่วยที่มักสังเกตได้จากอาการไขข้ออักเสบกำเริบเฉียบพลันซ้ำ ๆ—มีอาการแดง ตึง แสบร้อน บวมที่ข้อต่อ ข้อต่อกระดูกฝ่าเท้า-นิ้วเท้าที่โคนนิ้วหัวแม่เท้ามักได้รับผลกระทบบ่อยที่สุด (ประมาณ 50% ของผู้ป่วย) นอกจากนี้
ยังอาจพบได้ในรูปแบบของก้อนโทไฟ นิ่วในไต หรือ โรคไตจากกรดยูริก โรคนี้เกิดจากการมีระดับกรดยูริกในเลือดสูง
กรดยูริกตกผลึกแล้วมาจับที่ข้อต่อ เส้นเอ็น และ เนื้อเยื่อโดยรอบ
จำนวนผู้ป่วยโรคเกาต์เพิ่มสูงขึ้นในช่วงหลายสิบปีนี้
โดยมีผลกระทบกับ 1-2% ของชาวตะวันตกในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต
จำนวนที่เพิ่มขึ้นนี้เชื่อว่าเป็นผลมาจากปัจจัยเสี่ยงที่พบมากขึ้นในประชากร
ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มอาการเมตาบอลิก อายุขัยที่ยืนยาวขึ้น และ พฤติกรรมการกินอาหารที่เปลี่ยนแปลงไป
แต่เดิมนั้นโรคเกาต์เคยได้ชื่อว่าเป็น "โรคของราชา" หรือ "โรคของคนรวย"
เกาต์ หรือ เกาต์ (Gout) เป็นโรคปวดข้อเรื้อรังชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยโรคหนึ่ง
(พบได้ประมาณ 2-4 คน ใน 1,000 คน)
จัดเป็นโรคของผู้ใหญ่ในวัยตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป
โดยอายุ 40-60 ปี จะพบโรคนี้ได้ประมาณ 2% และอายุ 60 ปีขึ้นไป จะพบได้ประมาณ 4% สังเกตได้ว่ายิ่งอายุมากขึ้นโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ก็มากขึ้นตามไปด้วยมักพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ
9-10 เท่าส่วนในผู้หญิงจะพบได้น้อย
หรือถ้าพบก็มักจะเป็นผู้หญิงหลังวัยหมดประจำเดือนไปแล้ว (มักเริ่มเป็นเมื่ออายุ 55
ปีขึ้นไป) โดยทั่วไปมักเกิดกับข้อเพียงข้อเดียว
ในบางครั้งอาจเกิดกับหลายข้อได้พร้อม ๆ กันก็ได้ แต่ข้อที่พบได้บ่อยมากที่สุดคือ
นิ้วหัวแม่เท้า
2.
5.และการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจแลหลอดเลือด |
ตำแหน่งที่ปวด
เริ่มเป็นที่ข้อยังไม่ถูกทำลายหากเป็นนานข้อถูกทำลาย
1.
ปวด บวม แดง ร้อน โดยเฉพาะบริเวณนิ้วหัวแม่เท้าเป็นข้อที่พบบ่อยที่สุดจะมีอาการปวดข้อโดยมากปวดข้อเดียวแต่ก็ปวดหลายข้อได้
2.
อาการปวดมักเป็นๆหายๆ หรือเรื้อรัง
3.
ข้อที่ปวดพบได้ทุกข้อ แต่พบมากข้อนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า ข้อเข่า
ข้อมือ ข้อนิ้วและข้อศอก
4.
พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
5.
ในรายที่เป็นมานานอาจพบนิ่วทางเดินปัสสาวะ
6.
มักปวดตอนกลางคืนอาการปวดจะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆมักจะมีปัจจัยกระตุ้นได้แก่การรับประทานอาหารที่มี
uric สูง
ดื่ม alcohol ผ่าตัด ความเครียด
ข้อที่พบว่าอักเสบได้บ่อยได้แกข้อนิ้วหัวแม่เท้า
ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อมือ และข้อศอกเรียงตามลำดับ พบว่าข้อที่เป็นจะบวม แดง
กดเจ็บจากรูปจะเห็นข้อนิ้วหัวแม่เท้าบวมและแดง
ในรายที่เป็นเรื้อรังจะมีการรวมตัวของกรดยูริกเกิดเป็นก้อนที่ข้อเรียก
Tophi
สาเหตุของโรคเกาต์
โรคเกาต์เป็นโรคที่เกิดจากการที่ร่างกายมีกรดยูริกในเลือดสูงอยู่เป็นเวลานานจนเกิดการตกผลึกของยูเรตตามเนื้อเยื่อต่าง
ๆ เช่น ข้อ (ทำให้เกิดข้ออักเสบ) ไต (ทำให้เกิดนิ่วในไตและไตวาย)
ส่วนสาเหตุที่ทำให้กรดยูริกในเลือดสูงก็เนื่องมาจาก ร่างกายสร้างกรดยูริกมากกว่าปริมาณที่ขับออก (นอกจากกรดยูริกในเลือดสูงจะเป็นผลมาจากการที่ร่างกายขาดยีนในการสลายกรดยูริกแล้ว
ยังพบว่าอาจเป็นผลมาจากอาหารที่รับประทานเข้าไป โดยเฉพาะอาหารที่มีสารพิวรีนสูง
และจากขบวนการสลายสารพิวรีนในร่างกาย โดยการสลายโปรตีนและได้สารพิวรีนออกมา
ซึ่งกรดยูริกในร่างกายส่วนใหญ่จะเกิดจากกระบวนการนี้) หรือเกิดจากการที่ร่างกายสร้างกรดยูริกเป็นปกติแต่ปริมาณที่ขับออกจากร่างกายมีน้อยกว่า (กรดยูริกที่สร้างขึ้นจะมีการขับออกจากร่างกายได้
2 ทางหลัก คือ ขับออกทางระบบทางเดินอาหาร
ซึ่งจะขับออกได้ประมาณ 1 ใน 3 และส่วนที่เหลือจะขับออกทางไตได้ประมาณ
2 ใน 3 ของปริมาณกรดยูริกที่ร่างกายสร้างได้ในแต่ละวัน
ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณ 90% จะมีความผิดปกติในการขับกรดยูริกออกทางไต)
ส่วนสาเหตุอื่น ๆ หรือสาเหตุที่ทำให้ข้ออักเสบเป็นซ้ำใหม่ คือ
- ความผิดปกติทางพันธุกรรมจากการขาดเอนไซม์บางตัวหรือเอนไซม์บางตัวทำงานมากเกินไป
เพราะผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มักพบว่ามีพ่อแม่ญาติพี่น้องเป็นโรคนี้ด้วย
- เกิดจากโรคบางชนิดที่ส่งผลให้มีกรดยูริกในเลือดสูง
เช่น โรคมะเร็ง มะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคเลือด โรคทาลัสซีเมีย โรคอ้วน
โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง รวมไปถึงการใช้ยารักษามะเร็งหรือฉายรังสี
เป็นต้น
- เกิดจากไตขับกรดยูริกได้น้อยลง
เช่น เป็นโรคไต ภาวะไตวาย ตะกั่วเป็นพิษ
- เกิดจากโรคต่อมไร้ท่อบางชนิด
เช่น ไฮโปไทรอยด์ (ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน,
ภาวะขาดไทรอยด์) เพราะส่งผลให้มีกรดยูริกในเลือดสูง
- เกิดจากเพศ
เนื่องจากพบโรคนี้ได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
- การดื่มแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า
เบียร์ ไวน์ โดยเฉพาะเบียร์
เพราะแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ลดการขับกรดยูริกออกทางไตหรือทางปัสสาวะ
หลังการดื่มจึงทำให้ไตขับกรดยูริกได้น้อยลง
กรดยูริกจึงคั่งอยู่ในเลือดสูงกว่าปกติ
- การรับประทานอาหารที่ให้กรดยูริก
(สารพิวรีน) สูงอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ หรือการรับประทานอาหารที่หมักด้วยยีสต์
(Yeast คือ
เชื้อราบางชนิดที่ใช้ในการหมักอาหารและเครื่องดื่ม)
เพราะเป็นสาเหตุทำให้มีกรดยูริกในเลือดสูง
- ความอ้วนหรือภาวะน้ำหนักตัวเกิน
โดยอาจสัมพันธ์กับภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลินที่ส่งผลให้เกิดโรคอ้วน (Insulin resistance)
- เกิดจากการได้รับบาดเจ็บที่ข้อกระดูก
การกระทบกระแทกที่ข้อ
- อากาศเย็น หรืออากาศเปลี่ยนแปลง
เช่น ช่วงเช้า หรือช่วงก่อนฝนตก
- การติดเชื้อของร่างกาย
- ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด
อาจกระตุ้นให้อาการกำเริบได้ เพราะยาบางชนิดมีผลทำให้ไตขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะได้น้อยลง
เช่น แอสไพริน (Aspirin), ไฮโดรคลอโรไทอาไซด์
(Hydrochlorothiazide – HCTZ), ไซโคลสปอริน (Cyclosporin),
เลโวโดปา (Levodopa) เป็นต้น
หมายเหตุ : กรดยูริก หรือ กรดยูริค (Uric acid) เป็นสารชนิดหนึ่งที่เป็นผลมาจากการเผาผลาญสารพิวรีน
(Purine) ซึ่งเป็นสารที่พบได้มากในสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์
เนื้อแดง อาหารทะเล ยีสต์ พืชผักหน่ออ่อนหรือยอดอ่อน
และเป็นผลมาจากการสลายตัวของเซลล์ในร่างกาย
จึงเป็นสิ่งที่พบได้เป็นปกติในเลือดของคนเรา และจะถูกขับออกทางไต
แต่ถ้าหากร่างกายมีการสร้างกรดยูริกมากเกินไปหรือไตขับกรดยูริกได้น้อยลง
ก็จะทำให้ร่างกายมีกรดยูริกคั่งอยู่มากผิดปกติ ซึ่งจะตกผลึกสะสมอยู่ตามข้อ ผิวหนัง
ไต และอวัยวะอื่น ๆ ทำให้เกิดอาการไม่สบายต่าง ๆ (โรคเกาต์ หมายถึง
ภาวะที่มีการเกาะของยูริกที่ข้อจนทำให้เกิดอาการอักเสบ ปวดบวม แดง ร้อน
ผู้ป่วยที่เป็นโรคเกาต์อาจมีกรดยูริกในเลือดสูงหรือปกติก็ได้
และผู้ที่มีกรดยูริกในเลือดสูงก็ไม่จำเป็นต้องโรคนี้เสมอไป)
สัญญาณและอาการ
โรคเกาต์ที่พบในข้อต่อกระดูกฝ่าเท้า-นิ้วเท้าของนิ้วหัวแม่เท้า:
สังเกตอาการแดงเล็กน้อยของผิวหนังที่ห่อหุ้มข้อต่อ
อาการของโรคเกาต์
- ผู้ป่วยจะมีอาการปวดข้ออย่างรุนแรง
ซึ่งจะเกิดขึ้นทันทีแบบฉับพลัน (มักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน 1 วัน)
ถ้าเป็นการปวดครั้งแรกมักจะเป็นเพียงข้อเดียว ซึ่งข้อที่พบว่าปวดกันมาก คือ นิ้วหัวแม่เท้า (ส่วนข้อเท้า ข้อเข่า ก็อาจพบได้บ้างในผู้ป่วยบางราย) โดยข้อที่ปวดจะมีอาการบวมและเจ็บมากจนเดินไม่ไหว
ผิวหนังในบริเวณนั้นจะตึง บวม แดง ร้อน ปวดมาก และเจ็บมากเมื่อสัมผัสถูก และจะพบลักษณะจำเพาะ คือ
เมื่ออาการเริ่มจะทุเลาลง ผิวหนังในบริเวณที่ปวดนั้นจะลอกและคัน
- ในการปวดข้อครั้งแรก ผู้ป่วยมักจะเป็นอยู่เพียงไม่กี่วัน
แม้จะไม่ได้รับการรักษาก็จะค่อย ๆ หายไปได้เอง
- ในบางครั้งผู้ป่วยอาจมีอาการไข้
หนาวสั่น ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็ว มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร
- ผู้ป่วยมักจะเริ่มมีอาการปวดในตอนกลางคืน
และมักจะเป็นหลังจากดื่มแอลกอฮอล์ หรือหลังกินเลี้ยง
หรือหลังกินอาหารมากผิดปกติ หรือเดินสะดุด
และในบางครั้งผู้ป่วยอาจมีอาการขณะที่มีภาวะเครียดทางจิตใจ เป็นโรคติดเชื้อ
หรือได้รับการผ่าตัดด้วยสาเหตุอื่น
- ถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาหรือควบคุมโรคให้ดี
ในระยะแรก ๆ อาการอาจกำเริบทุก 1-2
ปี โดยจะเป็นที่ข้อเดิม แต่ต่อมาจะเป็นถี่ขึ้นเรื่อย ๆ เช่น
ทุก 4-6 เดือน แล้วเป็นทุก 2-3 เดือน
จนกระทั่งเป็นทุกเดือน หรือเดือนละหลายครั้ง
และระยะการปวดจะนานวันมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น กลายเป็น 7-14 วัน จนกระทั่งปวดนานขึ้นเป็นหลายสัปดาห์หรือปวดตลอดเวลา
ส่วนข้อที่ปวดก็จะเพิ่มจากข้อเดียวเป็น 2-3 ข้อ เช่น
ข้อมือ ข้อศอก ข้อเข่า ข้อเท้า นิ้วมือ นิ้วเท้า จนกระทั่งเป็นเกือบทุกข้อ
- ในระหลัง ๆ
เมื่อข้ออักเสบหลายข้อขึ้น
ผู้ป่วยมักจะสังเกตว่ามีปุ่มก้อนขึ้นที่บริเวณที่เคยอักเสบบ่อย ๆ เช่น
ข้อนิ้วเท้า ข้อนิ้วมือ ข้อศอก ข้อเข่า รวมทั้งที่หู เรียกว่าปุ่มโรคเกาต์หรือตุ่มโทฟัส
(Tophus หรือ Tophi)
ซึ่งเป็นแหล่งสะสมของกรดยูริก ปุ่มก้อนนี้จะโตขึ้นเรื่อย ๆ
จนบางครั้งแตกออกเป็นสารขาว ๆ คล้ายกับชอล์กหรือยาสีฟันไหลออกมา
กลายเป็นแผลเรื้อรัง หายช้า และในที่สุดข้อต่าง ๆ ก็จะค่อย ๆ
พิการจนใช้งานไม่ได้
วิถีชีวิต
พฤติกรรมการบริโภคอาหารเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเกาต์ประมาณ
12% ทั้งนี้รวมถึงการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มน้ำหวานที่ผสมฟรักโทส เนื้อสัตว์ และ อาหารทะเล ปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ การบาดเจ็บทางร่างกาย และ การผ่าตัด การวิจัยล่าสุดพบว่าปัจจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เคยเชื่อว่าเกี่ยวข้องนั้น
ในความเป็นจริงไม่ได้เกี่ยวเลย ไม่ว่าจะเป็นการบริโภคผักที่มีพิวรีนสูง (ตัวอย่างเช่นถั่ว ถั่วลันเตา ถั่วเลนทิล
และ ผักโขม) และ โปรตีนทุกชนิด การบริโภคกาแฟ วิตามินซี และ ผลิตภัณฑ์นม ตลอดจนการออกกำลังกายดูเหมือนจะช่วยลดความเสี่ยง
ที่เชื่อเช่นนั้นส่วนหนึ่งเนื่องมาจากผลของอาหารเหล่านี้ในการลดภาวะดื้อต่ออินซูลิน
https://line.me/R/ti/p/%40ako9203g
m.me/bonehealthcare
พันธุกรรมm.me/bonehealthcare
การเกิดโรคเกาต์ส่วนหนึ่งมาจากสาเหตุทางพันธุกรรมซึ่งเอื้อต่อประมาณ
60% ของความแปรปรวนในระดับของกรดยูริก ยีนสามตัวคือSLC2A9 SLC22A12 และ ABCG2 ถูกพบว่ามักจะเกี่ยวข้องกับโรคเกาต์และความแปรปรวนของยีนเหล่านี้สามารถเพิ่มความเสี่ยงได้ประมาณสองเท่า
การกลายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดการสูญเสียฟังก์ชันของโปรตีนใน SLC2A9 และ SLC22A12 ก่อให้เกิดภาวะกรดยูริกในเลือดสูงทางพันธุกรรมโดยการลดการดูดซึมและไม่มีการต่อต้านการหลั่งเกลือยูเรท
ความผิดปกติทางพันธุกรรมที่หายากบางอย่าง เช่น โรคไตในเด็กที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากภาวะกรดยูริกในเลือดสูง
โรคถุงน้ำในไตชั้นกลาง การสังเคราะห์ฟอสโฟไรโบซิลไพโรฟอสเฟตมากเกินไป การขาดไฮโปแทนซีน – กวานีนฟอสโฟไรโบซิลทรานสเฟอเรส เช่นที่พบใน กลุ่มอาการ Lesch-Nyhan เกิดความซับซ้อนเพราะโรคเกาต์
ภาวะความเจ็บป่วย
โรคเกาต์มักเกิดขึ้นพร้อมกับปัญหาทางการแพทย์อื่น
ๆ กลุ่มอาการเมตาบอลิกซึ่งรวมโรคอ้วนลงพุง ความดันโลหิตสูง ภาวะดื้อต่ออินซูลิน และ ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ เกิดขึ้นในเกือบ 75% ของผู้ป่วย
ภาวะอื่น ๆ ที่มักเกิดความซับซ้อนเพราะโรคเกาต์รวมถึง: ภาวะเม็ดเลือดแดงมาก โรคพิษตะกั่ว ไตวาย โรคโลหิตจาง โรคสะเก็ดเงิน และ การปลูกถ่ายอวัยวะ ค่าดัชนีมวลกายที่มากกว่าหรือเท่ากับ 35 เพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคเกาต์ขึ้นเป็นสามเท่าในเพศชาย
การสัมผัสสารตะกั่วเป็นเวลาติดต่อกันและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีสารตะกั่วปนเปื้อนเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเกาต์
เนื่องจากผลกระทบที่เป็นอันตรายของสารตะกั่วต่อการทำงานของไต กลุ่มอาการ Lesch-Nyhan มักจะเกี่ยวข้องกับโรคข้ออักเสบเพราะโรคเกาต์
ยา
ยาขับปัสสาวะถูกเชื่อมโยงกับสาเหตุการกำเริบของโรคเกาต์ตลอดมา
อย่างไรก็ตาม การใช้ไฮโดรคลอโรไทอาไซด์ในปริมาณน้อยดูเหมือนจะไม่ได้เพิ่มความเสี่ยง ยาอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องรวมถึงไนอาซิน และ แอสไพริน (กรดอะซิทิลซาลิไซลิก) สารกดภูมิคุ้มกันต่าง ๆ ไซโคลสปอริน และ ทาโครลิมุส ก็เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคเกาต์ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาตัวแรกเมื่อใช้ร่วมกับไฮโดรคลอโรไทอาไซด์
พยาธิสรีรวิทยา
กรดยูริก
โรคเกาต์เป็นความผิดปกติของการเผาผลาญพิวรีนและเกิดขึ้นเมื่อสารสังเคราะห์สุดท้าย กรดยูริก ตกผลึกในรูปแบบของโมโนโซเดียมยูเรทที่ตกตะกอนในข้อต่อ
บนเส้นเอ็น และ เนื้อเยื่อรอบๆ จากนั้น
ผลึกเหล่านี้จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาการอักเสบเนื่องจากภูมิคุ้มกัน โดยหนึ่งในโปรตีนที่สำคัญในชั้นการอักเสบได้แก่ อินเตอร์ลูคิน 1β การสูญเสียยูริเคสซึ่งย่อยสลายกรดยูริกทีละน้อยในมนุษย์และไพรเมตชั้นสูงต่าง ๆ
ทำให้ภาวะนี้กลายเป็นเรื่องที่พบบ่อย
สารที่มากระตุ้นการตกตะกอนของกรดยูริกนั้นไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด
แม้ว่ากรดยูริกจะสามารถตกผลึกได้เมื่อปริมาณของมันอยู่ในระดับปกติ
แต่ก็มีแนวโน้มที่จะตกผลึกมากขึ้นเมื่อปริมาณเพิ่มขึ้นปัจจัยอื่น ๆ
ที่เชื่อว่ามีความสำคัญในการกระตุ้นการอักเสบเฉียบพลันของอาการข้ออักเสบได้แก่อุณหภูมิที่เย็น
การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของระดับกรดยูริก ภาวะกรดความชุ่มชื้นของข้อต่อ และ โปรตีนเคลือบเซลล์ เช่น โปรตีโอไกลแคน คอลลาเจน และ คอนดรอยตินซัลเฟต การตกตะกอนที่เพิ่มขึ้นที่อุณหภูมิต่ำอธิบายได้ส่วนหนึ่งว่าเหตุใดข้อต่อบริเวณเท้าจึงได้รับผลกระทบมากที่สุด การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของปริมาณกรดยูริกอาจเกิดขึ้นเนื่องจากหลายปัจจัย
ไม่ว่าจะเป็นการบาดเจ็บ การผ่าตัด เคมีบำบัด ยาขับปัสสาวะ และ
การหยุดหรือการเริ่มใช้อัลโลพูรินอล ในขณะเดียวกัน แคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ และ โลซาร์แทน ถูกเชื่อมโยงกับการลดความเสี่ยงจากโรคเกาต์เมื่อเทียบกับยาอื่น
ๆ สำหรับโรคความดันโลหิตสูง
ภาวะแทรกซ้อนของโรคเกาต์
- กลายเป็นโรคเกาต์เรื้อรังเมื่อไม่ไปพบแพทย์อย่างต่อเนื่อง
หรือเกิดปุ่มผลึกกรดยูริกในเนื้อเยื่อต่าง ๆ
จนส่งผลเสียต่อบุคลิกและภาพลักษณ์
- ถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษา
อาจทำให้เกิดภาวะข้อพิการ นิ่วในทางเดินปัสสาวะ (พบได้ประมาณ 25%) ซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะแทรกซ้อนตามมาได้
- ผู้ป่วยโรคเกาต์มักจะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน
ความดันโลหิตสูง ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง
และภาวะหลอดเลือดแดงแข็งมากกว่าคนปกติ
(สันนิษฐานว่าอาจมีความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ของโรคเหล่านี้ร่วมกับโรคเกาต์)
และถ้าหากผู้ป่วยไม่ได้ควบคุมโรคเหล่านี้ให้ดี ปล่อยให้เป็นแบบเรื้อรัง
ในที่สุดก็อาจจะกลายเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดสมองตีบ
และไตวายจนเสียชีวิตได้
วิธีรักษาโรคเกาต์
- การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคเกาต์ (วิธีป้องกันและบรรเทาอาการเจ็บป่วยจากโรคเกาต์)
1.
เมื่อมีอาการปวดควรนอนพักผ่อน
2.
ควรดื่มน้ำให้มาก ๆ อย่างน้อยวันละ 3 ลิตร เพื่อป้องกันนิ่วในไต (การดื่มน้ำมาก ๆ จะช่วยเพิ่มการขับกรดยูริกออกทางไต
และช่วยลดโอกาสการตกตะกอนจนเป็นนิ่วในไต) เมื่อไม่มีโรคที่ต้องจำกัดน้ำ
3.
งดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด โดยเฉพาะเบียร์ เพราะเมื่อร่างกายเผาผลาญแอลอกฮอล์
จะทำให้มีการเพิ่มของสารแล็กเทสในเลือด ซึ่งสารนี้จะไปยับยั้งการขับกรดยูริกออกจากไต
4.
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีกรดยูริกสูง ได้แก่ เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ปีก ไข่ปลา หอย ปลาซาร์ดีน
ปลาแฮริง ปลาไส้ตัน ปลาดุก กะปิ ซุปก้อน น้ำสกัดเนื้อ น้ำต้มกระดูก กระถิน ชะอม
ดอกสะเดา ยอดแค ยอดผัก เห็ด สาหร่าย อาหารที่ใส่ยีสต์ (ขนมปัง เบียร์) น้ำเกรวี (Gravy) เป็นต้น ส่วนอาหารที่มีกรดยูริกปานกลาง
ซึ่งผู้ป่วยสามารถรับประทานได้พอประมาณ แต่อย่าซ้ำบ่อย ได้แก่ เนื้อสัตว์ ปลา ปลาหมึก ปู ดอกกะหล่ำ ผักโขม
ผักปวยเล้ง ใบขี้เหล็ก สะตอ หน่อไม้ ถั่ว เป็นต้น ส่วนอาหารที่มีกรดยูริกต่ำ ซึ่งผู้ป่วยสามารถรับประทานได้อย่างไม่จำกัด
ได้แก่ ผักที่ไม่ใช่ยอดอ่อน
หัวกะหล่ำ ผลไม้ทุกชนิด ธัญพืช ปลาน้ำจืด ข้าว ข้าวโพด ข้าวโอ๊ต แป้ง ไข่ เต้าหู้
นมพร่องไขมัน โยเกิร์ต เนย ช็อกโกแลต ชา กาแฟ เป็นต้น
5.
รับประทานอาหารประเภทข้าว-แป้งให้มากพอ (วันละ 8-12 ทัพพี)
เพื่อให้ร่างกายได้รับพลังงานอย่างเพียงพอในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
โดยไม่ต้องเผาผลาญโปรตีนที่มีอยู่ในกล้ามเนื้อเพื่อใช้เป็นพลัง
เนื่องจากการเผาผลาญโปรตีนในลักษณะนี้จะทำให้มีการสลายกรดยูริกออกมาในกระแสเลือดมากขึ้น
6.
รับประทานผักและผลไม้ชนิดต่าง ๆ ให้มากขึ้น เพราะจะช่วยให้ปัสสาวะมีสภาวะเป็นด่าง
ลดความเป็นกรด จึงส่งผลให้เกิดการขับปัสสาวะมากขึ้น อย่างไรก็ตาม
คนเป็นโรคเกาต์ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักยอดอ่อนตามที่กล่าวมา
7.
ผู้ป่วยควรสังเกตตัวเองด้วยว่า
อาหารประเภทใดที่กินแล้วสามารถควบคุมกรดยูริกในเลือดได้ดีก็ให้เลือกกินอาหารประเภทนั้น
หรืออาหารประเภทใดที่กินแล้วทำให้อาการกำเริบก็ควรหลีกเลี่ยง
8.
ผู้ที่มีภาวะอ้วนหรือภาวะน้ำหนักตัวเกิน
ควรลดน้ำหนักลงทีละน้อยอย่างถูกวิธี (ควรใช้วิธีการควบคุมอาหารร่วมกับการออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ)
ไม่ควรเกินครึ่งกิโลกรัมต่อสัปดาห์ อย่าลดน้ำหนักตัวแบบฮวบฮาบ
เพราะจะมีผลทำให้เกิดภาวะคีโตนในเลือดสูง
จนส่งผลให้การขับกรดยูริกออกจากร่างกายลดลง
และที่สำคัญก็คือไม่ควรลดน้ำหนักด้วยวิธีการอดอาหารอย่างเด็ดขาด
เพราะจะทำให้มีการสลายตัวของเซลล์อย่างรวดเร็วผิดปกติ
ทำให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูงมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้ข้ออักเสบกำเริบขึ้นมาได้
9.
ควรระมัดระวังอย่าให้ข้อกระดูกได้รับการบาดเจ็บ
10. งดการบีบนวดตรงตำแหน่งที่เจ็บ
เพราะยิ่งนวดจะยิ่งปวดและหายช้า
11. เมื่อมีอาการปวดให้ใช้น้ำอุ่นจัด ๆ
หรือใช้น้ำแข็งประคบตรงข้อที่ปวด ประมาณ 20 นาที และหลีกเลี่ยงการลงน้ำหนักตรงข้อนั้น ๆ
พยากรณ์โรค
หากไม่ได้รับการรักษา
อาการกำเริบเฉียบพลันของโรคเกาต์มักจะหายไปเองภายในห้าถึงเจ็ดวัน อย่างไรก็ตาม 60% ของผู้ป่วยเหล่านี้มีอาการกำเริบอีกครั้งภายในหนึ่งปี ผู้ป่วยโรคเกาต์มีความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน กลุ่มอาการเมตาบอลิก โรคไต และ โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด จึงมีความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการเสียชีวิต ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะความเกี่ยวข้องกับภาวะดื้อต่ออินซูลินและโรคอ้วน แต่ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นมาบางอย่างก็ปรากฏว่าเกิดขึ้นเอง
หากไม่ได้รับการรักษา
การกำเริบของโรคเกาต์แบบเฉียบพลันอาจพัฒนาเป็นโรคเกาต์เรื้อรังที่มีการทำลายพื้นผิวข้อต่อ
รูปร่างข้อต่อผิดปกติ และ ก้อนโทไฟที่ไม่สร้างความเจ็บปวด ก้อนโทไฟเหล่านี้เกิดขึ้นใน
30% ของผู้ที่ไม่ได้รับการรักษาเป็นเวลาห้าปี
โดยส่วนมากเกิดที่วงใบหู เหนือปุ่มปลายศอก หรือบนเอ็นร้อยหวาย ซึ่งหากใช้การรักษาที่รุนแรงก็อาจทำให้สลายไปได้
นอกจากนี้ โรคนิ่วในไตก็มักก่อความซับซ้อนแก่ผู้ป่วยโรคเกาต์โดยมีผลกระทบต่อระหว่าง
10 ถึง 40%
ของผู้ป่วย
อาการนี้เกิดจากค่าพีเอชปัสสาวะต่ำซึ่งส่งเสริมการตกตะกอนของกรดยูริก รูปแบบอื่น ๆ ของความผิดปกติเรื้อรังของการทำงานของไตอาจเกิดขึ้นได้
คำแนะนำเกี่ยวกับโรคเกาต์
1.
เมื่อมีอาการผิดปกติของข้อเกิดขึ้น
ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยแยกโรคว่ามีสาเหตุมาจากอะไร
ส่วนผู้ที่เป็นโรคเกาต์หรือเคยเป็นโรคเกาต์มาก่อน ควรไปพบแพทย์ตามนัดเสมอ
และควรรีบไปพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อผู้ป่วยมีอาการผิดปกติไปจากเดิมหรืออาการต่าง ๆ
เลวร้ายลง หรือเมื่อมีความกังวลใจในอาการที่เกิดขึ้น
2.
โรคเกาต์แม้จะเป็นโรคเรื้อรัง แต่ก็ไม่เป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิต
(ถ้าไม่ปล่อยให้เป็นเรื้อรังจนเกิดไตวาย) และหากได้รับการรักษาอย่างจริงจัง ก็สามารถป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติสุข
ดังนั้น ผู้ป่วยจึงควรเข้ารับการรักษาอย่าได้ขาด กินยาตามที่แพทย์สั่งไปตลอดชีวิต
ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ และหมั่นตรวจเลือดอยู่เป็นระยะ ๆ
3.
ผู้ที่มีญาติพี่น้องเป็นโรคเกาต์ ควรตรวจหาระดับของกรดยูริกในเลือดเป็นระยะ
ๆ
4.
โรคเกาต์เป็นโรคที่ไม่ค่อยเกิดในสัตว์ชนิดอื่น ๆ
เนื่องจากพวกมันสามารถผลิตยูริเคสที่ช่วยย่อยสลายกรดยูริกได้เอง
ส่วนมนุษย์และวงศ์ลิงใหญ่อื่น ๆ จะไม่มีความสามารถนี้ จึงมักพบโรคนี้ได้อยู่บ่อย ๆ
ข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น